อบรมบ่มนิสัย: อีคิว ความฉลาดทางอารมณ์

อบรมบ่มนิสัย: อีคิว ความฉลาดทางอารมณ์

Written by Kittivud
Friday, 06 March 2009 00:32

อีคิว – EQ ย่อมาจากคำเต็มว่า Emotional Quotient แปลว่า ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่น อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
EQ คือ อะไร และมีวิธีการส่งเสริมอย่างไร

นักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกาชื่อ Daniel Goldman เสนอแนวคิดว่า บุคคลจะประสบความสำเร็จในชีวิต จะต้องมีความสามารถในการบริหารอารมณ์ก็คือ EQ สูง มิใช่แต่จะมีความเฉลียวฉลาด หรือ IQ (Intellegence Quotient) สูงแต่เพียงอย่างเดียว กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ตีพิมพ์เรื่อง อีคิว เผยแพร่แก่ประชาชนซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจ ดังนี้

องค์ประกอบของ EQ

ผู้ที่ถูกจัดว่ามี EQ หรือ ความสามารถในการดำเนินชีวิต ร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุขนั้นจะต้องประกอบด้วย คุณสมบัติพื้นฐานคือ ดี เก่ง และมีความสุข มีคำจำกัดความดังต่อไป

1.ดี หมายถึง ความฉลาดในการควบคุมตนเอง รักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้

เข้าใจและยอมรับอารมณ์ตนเอง ควบคุมและแสดงออกอย่างเหมาะสม
– เข้าใจและยอมรับอารมณ์ตนเอง
– ควบคุมอารมณ์
– แสดงออกอย่างเหมาะสม
– สลายอารมณ์
– เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น

เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
– ยอมรับอารมณ์ของผู้อื่น
– ใส่ใจในความรู้สึกของผู้อื่น
– เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
– รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

มีความจริงใจ
– รู้จักรับผิดชอบ/ให้อภัย
– รู้จักให้/รู้จักรับ
– รู้จักเคารพยกย่องผู้อื่น
– ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
– รับผิดชอบต่อบทบาทของตนเอง
– เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

2.เก่ง หมายถึง ความฉลาดในการรู้จักตนเอง คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจในตนเอง มุ่งมั่น ทำให้สำเร็จ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยความสามารถดังต่อไปนี้

รู้จักตนเอง
– รู้ศักยภาพของตนเอง
– รู้อารมณ์ตนเอง
– รู้ความต้องการของตน
– มีแรงจูงใจในตนเอง

มีความคิดสร้างสรรค์
– สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเอง
– มีความเพียรพยายาม/มุมานะที่จะทำให้สำเร็จ
– มองปัญหาเป็นโอกาสหรือสิ่งท้าทาย
– มีเป้าหมาย/ความหวังในทางที่ดี
– สามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหา

รับรู้ เข้าใจปัญหา
– สามารถตัดสินใจ วางแผนแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ (วิเคราะห์วางแผนจัดการ แก้ไข)
– มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์
– การแสดงออกอย่างมีประสิทธิภาพ

กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ >/b>
– สามารถสื่อความต้องการของตนเอง
– รับรู้สนใจบุคคลที่เกี่ยวข้อง

3. สุข หมายถึง ความฉลาดในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ประกอบด้วย

ภูมิใจตนเอง
– พอใจและเห็นคุณค่าตนเอง
– เข้าใจ ยอมรับจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง
– ศรัทธาและเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
– พึงพอใจในชีวิต

มองโลกในแง่ดี
– พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
– มีความมั่นคงในอารมณ์ (ไม่หวั่นไหว)
– มีความสามารถในการสร้างความสุข

รู้จักผ่อนคลาย
– มีอารมณ์ขัน สนุกกับชีวิตได้
– มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุขความพอใจ
– มีความสุขสงบทางจิตใจ

จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นเรื่องที่จะพัฒนาให้มีในตัวพ่อแม่ และทำตัวเป็นแบบอย่างแก่ลูก ลูกก็จะเติบโตขึ้นมามี อีคิวดี

อย่างไรก็ตามในการปฏิบัติต่อลูกนั้น ศาสตราจารย์แพทย์หญิงนงพงา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชาจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แนะนำไว้ในหนังสือ “เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข” ในหัวข้อเรื่องลักษณะที่ลูกอยากให้พ่อแม่เป็น และสิ่งที่ลูกไม่อยากให้พ่อแม่ทำ เป็นหนังสือที่มีประโยชน์ในการเลี้ยงดูลูก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปฏิบัติกับลูกดู ถ้าทำได้ก็ช่วยให้ อีคิวลูกดี

ลักษณะที่ลูกอยากให้พ่อแม่เป็นคือ
– ใจดี อบอุ่น ยิ้มแย้ม
– รักใคร่ อ่อนโยน นุ่มนวล
– เข้าใจลูก สนใจ เอาใจใส่
– ช่วยเหลือในเรื่องที่ยากเกินไป
– ช่วยสอน ชี้แนะให้เขาทำได้
– พูดเพราะ ฟังแล้วไม่เสียความรู้สึก (ไม่ต้องถึงกับพูดหวาน)
– ดูแลเมื่อเขาเจ็บป่วย
– ปกป้อง คุ้มครอง
– เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
– เป็นพ่อแม่ที่ลูกสามารถรู้สึกภูมิใจในตัวพ่อแม่ได้

สิ่งที่ลูกไม่อยากให้พ่อแม่ทำ คือ “อย่า” ทั้งหลายทั้งปวงที่ลูกไม่อยากเจอ และพ่อแม่ไม่ควรทำ คือ
– อย่า เอาแต่ตำหนิติเตียน
– อย่า ใช้คำรุนแรงบาดใจ
– อย่า ระบายอารมณ์กับลูกเมื่อมีอารมณ์โกรธ
– อย่า ทำให้ลูกอับอายต่อหน้าคนอื่น
– อย่า ตามใจไร้ขอบเขตจนเสียคน
– อย่า ควบคุมลูกจนลูกไม่สามารถเป็นตัวของตัวเอง
– อย่า ประจานลูก หรือ จงใจทำให้ลูกอับอาย
– อย่า บ่น (การบ่น คือ การพูดในแง่ลบของทุก ๆ เรื่อง)
– อย่า พาล
– อย่า ออกคำสั่งโดยไม่มีเหตุผล
– อย่า ลงโทษโดยไม่สอบถาม
– อย่า ขู่เด็ก
– อย่า ไล่เด็กออกจากบ้าน
– อย่า เปรียบเทียบกับเด็กอื่น
– อย่า เลี้ยงลูกแข่งกับใคร
– อย่า ใช้อารมณ์โดยไม่ใช้เหตุผล
– อย่า มองลูกในแง่ร้าย
– อย่า คาดหวังลูกมากเกินความสามารถของลูก

ทั้งหมดที่กล่าวมาถ้าพ่อแม่ทำได้ ลูกจะมีความสุขและเติบโตมาเป็นคนมีสุขภาพจิตดี สามารถเรียนรู้ได้ดี พัฒนาตนเองให้เก่ง เป็นคนดี มีชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
________________________________________
ที่มา http://lovekid.com/article.php?sid=128

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *