องค์กรการเรียนรู้ – 2

องค์กรการเรียนรู้ – 2

การบริหารจัดการโดย Grid

ประสิทธิภาพของคนเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและความเจริญเติบโตขององค์กร ทัศนคติในการรวมพลังภายในองค์กร และวิญญาณแห่งการแข่งขันกับคู่แข่งภายนอก เป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ ยังคงอยู่ในแนวหน้าของธุรกิจของอุตสาหกรรมนั้น ๆ สิ่งสำคัญในการทำให้ประสิทธิผลของคนในองค์กรยังคงมีประสิทธิภาพ ก็อยู่ที่การจัดการกับทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรนั้น ๆ นั่นก็คือทรัพยากรบุคคลนั่นเอง

ในการประกอบธุรกิจนั้น กลยุทธ์ในแนวคิดและเทคนิคในการวิเคราะห์วัดผล ควบคุมและการพัฒนาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นผลให้การใช้ทรัพยากรต่ำกว่าที่พึ่งจะได้เป็นอย่างมาก การจัดการกับทรัพยากรด้านการเงินและวัตถุดิบ แสดงให้เห็นถึงผลในทางลบในเรื่องดังกล่าว ถ้าทรัพยากรบุคคลยังใช้ได้ไม่เต็มที่ เราก็จะไม่ได้เปรียบอะไรเลย ถึงแม้จะมีทรัพยากรอื่น ๆ ที่ดีกว่าก็ตาม ถ้าไม่มีปฏิสัมพันธ์ของคนที่ดีต่อกัน ทรัพยากรอื่น ๆ ก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพเท่าใดนัก

“คนจะเปลี่ยนได้หรือไม่” คนอาจเปลี่ยนได้สำเร็จชั้นหนึ่ง โดยการใช้ความคิดริเริ่มในการเพิ่มประสิทธิผลของตนเอง การกระทำเช่นนี้มีความสำคัญในตัวมันเอง และอาจเสริมสร้างโดยให้ค่านิยมขององค์กรมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงตนเอง ให้เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาชีวิตการทำงานและเพิ่มประสิทธิผลขององค์กร

กริด (Grid) เป็นกรอบหรือโครงสร้างของการบริหารจัดการในรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจว่ามนุษย์ประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกันได้อย่างไร ความแตกต่างของผู้นำแต่ละประเภทสามารถกำหนดจากปัจจัยที่เกี่ยวกับความมุ่งมั่นในงาน (หรือการทำงานให้แล้วเสร็จ) และปัจจัยที่เกี่ยวกับความมุ่งมั่นในคน (หรือผู้ร่วมทำงาน) กริด จึงเป็นเครื่องมือที่อธิบายให้ความเข้าใจว่ามนุษย์ทำงานด้วยกันอย่างไร เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร ถ้าหากทุกคนในองค์กรพูดภาษาเดียวกัน เขาเหล่านั้นย่อมมีพื้นฐานในการสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานให้แก่กันและกัน ถ้าหากไม่มีทฤษฎีหรือภาษาเดียวกัน ในการวิเคราะห์ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้นำ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก กริด จะคำนึงถึงรูปแบบอันหลากหลายในการบริหารงานและบริหารคนในองค์กรโดยเน้นหนักในการวิเคราะห์ถึงการขจัดข้อขัดแย้ง (Conflict) ในการทำงานเพราะจะเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าถึงแต่ละสถานการณ์หรือแต่ละปัญหาและจุดเน้นที่สองได้แก่ การวิพากษ์ (Critique) เพราะการวิพากษ์เปิดโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการในองค์กร

อะไรคือภาวะผู้นำ ?

ภาวะผู้นำขึ้นอยู่กับตัวผู้นำที่คิดว่าอะไรเป็นการใช้อำนาจที่ถูกต้อง “ 3 อาร์ แห่งภาวะผู้นำ” ซึ่งได้แก่ R1 ( Resources ) หรือทรัพยากร, R2 (Relationships) หรือสัมพันธภาพ และ R3 (Results) หรือผลงานเป็นอีกวิธีหนึ่ง
คนจะกระทำการอย่างไรภายใต้ 3 อาร์ ดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กรได้

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *