วิธีปฏิบัติเมื่อรับช่วงสิทธิ

วิธีปฏิบัติเมื่อรับช่วงสิทธิ
การรับช่วงสิทธิอาศัยสิทธิตามกฎหมาย ม. 880 และ ม. 226,227 ผู้รับประกันภัยจึงย่อมจะใช้
สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอกในนามของตนเอง โดยไม่จำต้องให้ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. ม. 306 ( ฎ 943/2510)

ผลของการรับช่วงสิทธิ
1. ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้ละเมิด ผู้รับประกันคิดดอกเบี้ยนับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป
ฎ 660/2529 บริษัทประกันโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายโดยตรงมิได้ เมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนแต่ละจำนวนไปในวันใด ก็คิดดอกเบี้ยในจำนวนดังกล่าวนับแต่วันนั้นเป็นต้นไป
ผู้รับช่วงสิทธิสามารถใช้สิทธิต่อบุคคลภายนอกได้ในนามของตนเอง ไม่ใช่ในฐานะตัวแทนของลูกหนี้ ดังนั้นแม้ไม่ได้มอบอำนาจหรือเป็นการขืนใจผู้เอาประกันภัย ก็ชอบที่จะทำได้

2. ผู้รับประกันใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้เอง ม. 213 , ม. 233 , ม. 237
ฎ 1118/2498 ผู้รับประกันภัยซึ่งใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องผู้ทำละเมิด ผู้รับช่วงสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้ในนามของตนเอง

2. ประกันชีวิต ม. 896
ผู้รับประกันชีวิตเมื่อได้ใช้เงินให้กับทายาทของผู้เอาประกันซึ่งมรณะ หรือใช้เงินให้กับผู้รับประโยชน์แล้ว ไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของทายาทผู้ตายไปไล่เบี้ยเอากับผู้ทำละเมิด (จะกล่าวในส่วนของเรื่องประกันชีวิตต่อไป)

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *