ลงทุน : บทเรียนที่3 ฝึกลากรูปแบบต่างๆ

ลงทุน : บทเรียนที่3 ฝึกลากรูปแบบต่างๆ

หลังจากที่ฝึกหัดการมองเทรนด์แนวโน้มให้ออกแล้ว ก็เริ่มไปฝึกการมองหาแนวรับ-แนวต้าน
รู้จักกันดีแล้วก็เริ่มมองหาจังหวะเข้าซื้อขาย ฝึกกันบ่อย ๆ ครับ มองหาให้เจอบ่อย ๆ
นานๆไป จะทำให้เรามองภาพได้เร็วขึ้นและมองหาจังหวะได้ดีกว่านักลงทุนคนอื่น

ต่อไปก็มารู้จักรูปแบบจากการใช้เส้น trend line ในการลากรูปแบบต่างๆที่ฝรั่งเค้าเรียกว่า chart patterns

เราจะมาฝึกลากรูปแบบแรก คือ symmetrical triangle เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สมดุลย์กัน
ลักษณะจะลากเอียงขาขึ้นและขาลงได้เอียงพอๆกัน

ในกรอบสามเหลี่ยมนั้นจะเห็นว่าเปิดกว้างแล้วค่อยๆ เล็กลงจนทำมุมเป็นสามเหลี่ยม
เป็นการเล่นราคากันระหว่างแรงซื้อและแรงขายที่ค่อยๆ บีบตัวจนเกิดรูปแบบดังกล่าว

เมื่อการบีบตัวในกรอบสามเหลี่ยมแคบลง โอกาสที่จะเกิดการระเบิดของราคาก็ยิ่งสูงขึ้น
เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมได้ (break out) กราฟก็จะกลับมาวิ่งแรงอีกครั้ง

อธิบายแบบง่ายๆ คือ รอให้ราคาซื้อราคาขายวิ่งในกรอบสามเหลี่ยมจากกว้างแล้วบีบตัวไปแคบ
ทะลุได้เมื่อไหร่แล้วค่อยพิจารณาซื้อขาย (การทะลุได้ คือการระเบิดที่เกิดจากการบีบตัวของราคาซื้อราคาขายนั่นเอง)

symmetrical triangle มีแบบขาขึ้นและขาลง
และยังสามารถหาเป้าหมาย (target) ของรูปแบบนี้ได้ เป็นเป้าหมายระยะสั้น (ใช้หลักความน่าจะเป็น) ดูจากรูป

symmetrical_triangle

พื้นฐานจากรูปแบบนี้มาจากการรู้จักเทรนด์ขาขึ้น ขาลง ด้านข้าง ลากเป็นก็สามารถหารูปแบบนี้ได้ มักจะเกิดขึ้นให้เห็นบ่อยๆ

รูปแบบต่อไปคือ descending triangle ขาลง
เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สามารถลาก trend line ได้เทรนด์ขาลงหนึ่งเส้น แล้วลากเส้นตรงในแนวนอนได้อีกหนึ่งเส้น
เมื่อลากสองเส้นนี้ได้แล้วก็คือ กรอบสามเหลี่ยมของขาลง (descending triangle downtrend)

จากในรูปจะสังเกตุเห็นว่า เมื่อลากกรอบสามเหลี่ยมขาลงได้แล้วจะมีการบีบตัวในกรอบยิ่งแคบมาก
โอกาสที่จะระเบิดตัวของราคาลงต่อยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้น

descending_triangle

ส่วนในกรอบสามเหลี่ยมขาลงนั่น จะสังเกตุเห็นของการลากเส้นตรง
บางครั้งอาจจะการเกิด double bottom หรือ triple bottom หลอก (false) เกิดขึ้น
แล้วราคาดีดตัวลงไปต่อ  จะเห็นว่าไม่ว่ารูปแบบและระบบอะไรก็ตามมักมีหลอกให้เห็นเสมอ ๆ
เราควรใช้เครื่องมือกรองกราฟหลายๆชั้นเพื่อหาจังหวะที่ดีที่สุด และเมื่อผิดทางต้องกล้าที่ stop loss

รูปแบบต่อไปคือ ascending triangle ขาขึ้น
เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สามารถลาก trend line ได้เทรนด์ขาขึ้นหนึ่งเส้นแล้วลากเส้นตรงในแนวนอน (ด้านบน) ได้อีกหนึ่งเส้น

เมื่อลากสองเส้นนี้ได้แล้วก็คือกรอบสามเหลี่ยมของขาขึ้น (ascending triangle uptrend)
จากในรูปจะสังเกตุเห็นว่า เมื่อลากกรอบสามเหลี่ยมขาขึ้นได้แล้วจะมีการบีบตัว
ในกรอบยิ่งแคบมาก โอกาสที่จะระเบิดตัวของราคาขึ้นต่อยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้น

ascending_triangle

ส่วนในกรอบสามเหลี่ยมขาขึ้นนั่น จะสังเกตุเห็นของการลากเส้นตรง
บางครั้งอาจจะการเกิด double top หรือ triple top หลอก (false) เกิดขึ้น แล้วราคาดีดตัวขึ้นไปต่อได้

รูปแบบ wedges มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. falling wedges (เกิด bullish) แบ่งได้อีกสองรูปแบบ คือ ในช่วงการเกิดของขาขึ้นและขาลง

falling_wedges

falling wedges (เกิด bullish) ของในช่วงขาขึ้น จะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนด์ขาขึ้น (ช่วงพักตัวของเทรนขาขึ้น)
เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไปต่อได้คือ การเกิด break out ของ falling wedge in an uptrend (bullish) แล้วจะวิ่งขึ้นไปต่อ

falling wedges (เกิด bullish) ของในช่วงขาลง จะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนด์ขาลง (ช่วงพักตัวของปลายเทรนขาลง) เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไปต่อได้คือการเกิด break out ของ falling wedge in a downtrend (bullish) แล้วจะวิ่งเปลื่ยนทิศจากขาลงไปเป็นขาขึ้น

2. rising wedges (เกิด bearish) แบ่งได้อีกสองรูปแบบคือ ในช่วงการเกิดของขาขึ้นและขาลง

rising_wedges

rising wedges (เกิด bearish) ของในช่วงขาขึ้น จะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนด์ขาขึ้น (ช่วงพักตัวของปลายเทรนขาขึ้น) เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมลงมาได้คือ การเกิด break out ของ rising wedge in an uptrend (bearish) แล้วจะวิ่งเปลี่ยนทิศจากขาขึ้นไปเป็นขาลง

rising wedges (เกิด bearish) ของในช่วงขาลง จะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนขาลง (ช่วงพักตัวของเทรนขาลง)
เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมลงไปต่อได้คือการเกิด break out ของ rising wedge in a downtrend (bearish) แล้วจะวิ่งลงไปต่อ

รูปแบบ rectangles มีรูปแบบด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. rectangle uptrend (เกิด bullish) เป็นรูปแบบเส้นขนานกันสองเส้นในแนวโน้มขาขึ้น (ช่วงพักตัว)
เมื่อลากกรอบเส้นขนานได้แล้วหลุดกรอบได้เกิด break out แล้วขึ้นต่อ

rectangle_uptrend

2. rectangle downtrend (เกิด bearish) เป็นรูปแบบเส้นขนานกันสองเส้นในแนวโน้มขาลง (ช่วงพักตัว)
เมื่อลากกรอบเส้นขนานได้แล้วหลุดกรอบได้เกิด break out แล้วลงต่อ

rectangle_downtrend

รูปแบบ flags & pennants

รูปแบบ flags จะเป็นรูปแบบธง (ขนานด้านข้าง) จะเกิดช่วงพักตัวของแนวโน้ม มี 2 แบบคือ

– ขาขึ้น (uptrend) เมื่อเราลากเส้น trend line ได้รูปธง (แบบขนานด้านข้าง) ทะลุขึ้นไปได้เรียกว่า break out วิ่งขึ้นไปต่อ

bull_flags

– ขาลง (downtrend) เมื่อเราลากเส้น trend line ได้รูปธง (แบบขนานด้านข้าง) ทะลุลงไปได้เรียกว่า break out วิ่งลงไปต่อ

bear_flags

รูปแบบ pennants จะเป็นรูปแบบ ธงสามเหลี่ยม จะเกิดช่วงพักตัวของแนวโน้ม มี 2 แบบคือ

– ขาขึ้น (uptrend) เมื่อเราลากเส้น trend line ได้รูป ธงสามเหลี่ยม ทะลุขึ้นไปได้เรียกว่า break out วิ่งขึ้นไปต่อ

bull_pennants

– ขาลง (downtrend) เมื่อเราลากเส้น trend line ได้รูป ธงสามเหลี่ยม  ทะลุลงไปได้เรียกว่า break out วิ่งลงไปต่อ

bear_pennants

รูปแบบ head and shoulders จะมี หัวและไหล่ (ด้านซ้ายและขวา) 

มี head and shoulders ของขาขึ้น และ ขาลง

ส่วนใหญ่จะเรียก head and shoulders ขาขึ้นว่า หัวตั้ง (ด้านบน)
เมื่อเกิดแบบนี้แล้วจะเป็นการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลงแรงๆ เสมอ

head_and_shoulder_top

ลักษณะนี้จะมี หัวอยู่บนสุด และไหล่ทั้งซ้ายและขวาต้องไม่สูงกว่าหัว ถึงจะเรียกว่า head and shoulders (หัวตั้งด้านบน)
เมื่อเกิดแล้วต้องสามารถลากเส้น neckline ได้เพื่อ confirm การลง

ส่วน head and shoulders ขาลง เรียกว่าหัวกลับ (ด้านล่าง)
เมื่อเกิดแบบนี้แล้วจะเป็นการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นแรงๆเสมอ

head_and_shoulder_bottom

ลักษณะนี้จะมีหัวอยู่ล่างสุด และไหล่ทั้งซ้ายและขวาต้องไม่ต่ำกว่าหัว ถึงจะเรียกว่า head and shoulders (หัวกลับด้านล่าง)
เมื่อเกิดแล้วต้องสามารถลากเส้น neckline ได้เพื่อ confirm การขึ้น ที่สำคัญ

หัวต้องอยู่สุงและต่ำกว่าไหล่เสมอๆ ไม่ว่าจะมีไหล่ขวากี่ครั้ง ไหล่ซ้ายกี่ครั้ง แต่หัวต้องสูงกว่าและต่ำกว่าเสมอ ๆ ถึงจะเรียกว่า head and shoulders ของขาขึ้น ขาลงนั้น ๆ

รูปแบบ triple top และ triple bottom

triple top ลักษณะจะเกิดการทำราคาดีดตัวไปชนแนวต้านที่เดียวกันถึง 3 ครั้ง
พยายามทะลุขึ้นไปต่อไม่ได้ ก็จะเกิดการกลับตัวลงอย่างแรงจนทะลุเส้น neckline ลงต่อไปได้
ก็จะเป็นการเกิด triple top เพื่อกลับตัวเป็นขาลง

tripple_top

triple bottom ลักษณะจะเกิดการทำราคาดีดตัวไปชน แนวรับที่เดียวกันถึง 3 ครั้ง
พยายามทะลุลงไปต่อไม่ได้ ก็จะเกิดการกลับตัวขึ้นอย่างแรงจนทะลุเส้น neckline ขึ้นต่อไปได้
ก็จะเป็นการเกิด Triple top เพื่อกลับตัวเป็นขาขึ้น

tripple_bottom

หวังว่าคงจะทำให้มองกราฟและลาก ๆ ขีด ๆ ได้ง่ายขึ้น  หาจังหวะซื้อขายได้จังหวะที่ดีขึ้นครับ

ที่มา : Thaispeculator

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *