ประวัติ MICHAEL DELL & DELL COMPUTER ตอน 3

ประวัติ MICHAEL DELL & DELL COMPUTER ตอน 3 เรียนรู้ด้วยความยากลำบาก

เรียนรู้ด้วยความยากลำบาก

ปัญหาแรกที่เดลล์ต้องเผชิญในปี 2532 คือ การมีชิ้นส่วนที่เป็นวัตถุดิบมากเกินไป เนื่องจากเดลล์ชอบซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น หน่วยความจำ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้มาเก็บไว้ในคลังสินค้า เพื่อรับมือกับยอดขายที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา แทนที่จะซื้อเท่าที่ต้องการ เมื่อมีของล้นคลัง สิ่งเดียวที่ต้องทำก็คือการโละออกไปให้หมดแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม ทำให้รายได้ในไตรมาสที่หนึ่งเหลือเพียง 1% ต่อหุ้นเท่านั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้เดลล์จึงให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารสต๊อกชิ้นส่วนเป็นอันดับแรกจากที่เคยให้เป็นอันดับท้าย และหาทางสร้างระบบการสื่อสารแบบใหม่ที่รวดเร็วและคาดการณ์ล่วงหน้าได้

วิกฤตครั้งต่อไปถือเป็นความผิดพลาดเนื่องจากให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากเกินไป แทนที่จะผลิตสินค้าที่มีเทคโนโลยีตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยเดลล์ได้วางแผนที่จะผลิตคอมพิวเตอร์ตระกูลใหม่ชื่อ “โอลิมปิก” ซึ่งมีเทคโนโลยีแบบครอบจักรวาล แต่สิ่งที่เดลล์ไม่ได้คิดเลยก็คือ เทคโนโลยีที่เฉียบขาดแบบนี้เป็นสิ่งสุดท้ายที่ลูกค้าต้องการ ประสบการณ์จากโครงการโอลิมปิกทำให้เดลล์ต้องหันกลับมาทบทวนเกี่ยวกับงานวิจัยและการค้นคว้าใหม่ จากเดิมที่คิดกันว่า “สร้างขึ้นก่อน คนซื้อตามมาทีหลัง” เปลี่ยนเป็นออกแบบบนพื้นฐานความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับแรกแทน

หลังจากได้ละเมิดกฎทอง 2 จาก 3 ข้อของบริษัท คือ หนึ่ง ต้องไม่มีสินค้าเหลือในคลัง และสอง รับฟังความต้องการของลูกค้า เดลล์ก็ได้ละเมิดกฎทองข้อที่สาม “ห้ามขายแบบที่ไม่ใช่การขายตรง” แทนที่จะยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่ทำอยู่เดิม เดลล์กลับทำตามสิ่งที่คนอื่นบอกเพื่อทดลองหาหนทางใหม่ ๆ โดยเริ่มขายคอมพิวเตอร์ผ่านทางร้านขายปลีก ซึ่งไมเคิลและเดลล์ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี กว่าจะสามารถกลับมาชื่นชมกับระบบส่งตรงได้อีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่าระบบส่งตรงทำให้เดลล์แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ ก็ตาม

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *