บัฟเฟตต์พูด

บัฟเฟตต์พูด
โลกในมุมมองของ value investor : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 06 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
เมื่อไม่กี่วันมานี้ SHAM GAD ซึ่งเป็นนักศึกษา MBA ที่กำลังจะจบของมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ได้มีโอกาสพาเพื่อนนักศึกษาเข้าพบ และพูดคุยกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ และต่อไปนี้คือ สาระบางส่วนของการตอบคำถามที่ถูกนำมาขึ้นใน BLOG ส่วนตัวของเขาที่เวบ BUFFETTSPEAK.BLOGSPOT.COM
ถามว่าทำไมบัฟเฟตต์จึงซื้อหุ้นเบิร์กไชร์ ซึ่งเป็นบริษัทสิ่งทอที่กำลังตกต่ำในปี 1962 บัฟเฟตต์ตอบว่า ราคาหุ้นในขณะนั้นอยู่ที่ 7 3/8 ดอลลาร์ แต่บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียน 10-11 ดอลลาร์ต่อหุ้น ขณะเดียวกันถึงบริษัทจะขาดทุน แต่ก็ได้ทยอยปิดโรงงานจาก 12 โรง เหลือเพียง 2 โรง ทำให้มีกระแสเงินสดออกมาใช้ได้มาก นี่เป็นกรณีของการลงทุนในบริษัทที่มีกิจการย่ำแย่ แต่มีทรัพย์สินมาก ซึ่งถือเป็นการลงทุนแบบ “ก้นบุหรี่” ในช่วงแรกๆ ของการลงทุนของเขา ต่อมาบัฟเฟตต์ได้ซื้อหุ้นตัวนี้เพิ่ม จนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และใช้มันเป็นบริษัท HOLDING ที่ถือหุ้นอื่นๆ มาจนถึงทุกวันนี้ที่หุ้นเบิร์กไชร์มีราคาหุ้นละหลายหมื่นดอลลาร์ และทำให้บัฟเฟตต์กลายเป็นคนที่รวยเป็นอันดับสองของโลก
กรณีการซื้อหุ้นของ SEE’S CANDY ในปี 1972 เป็นกรณีของการซื้อธุรกิจที่มียี่ห้อที่แข็งแกร่งของ SEE’S ซึ่งขายลูกกวาดและช็อกโกแลต ซึ่งสามารถขึ้นราคาสินค้าได้บ่อยๆ โดยลูกค้าไม่หันไปซื้อยี่ห้ออื่น บัฟเฟตต์บอกว่า เมื่อเขาจะลงทุน เขาจะถามคำถามข้อหนึ่ง นั่นคือ “คุณจะต้องรอนานแค่ไหนถึงจะสามารถขึ้นราคาสินค้าได้” และนี่คือ กรณีแรกๆ ที่บัฟเฟตต์เริ่มเปลี่ยนแนวการลงทุนจากแบบก้นบุหรี่มาเป็นการลงทุนในหุ้นของกิจการที่มียี่ห้อโดดเด่น กิจการมีคุณภาพดีมากในราคาหุ้นที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับการลงทุนก่อนหน้านั้น
เมื่อถูกถามว่า 50 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นอเมริกันมีหุ้นราคาต่ำกว่าพื้นฐานมากมาย เขาคิดว่าเหตุการณ์แบบนั้น จะเกิดขึ้นอีกไหม คำตอบก็คือ โอกาสที่น่าสนใจมากๆ นั้น มาจากการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์คนนั้น จะตกใจจนตัวสั่นด้วยความกลัว และตื่นเต้นด้วยความโลภ และสิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับว่า พวกเขาจะมี IQ เท่าไร
ตัวบัฟเฟตต์เองนั้น ร่ำรวยขึ้นได้โดยการมองหากำไรที่แข็งแกร่งของบริษัท 50 ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ช่วงเวลาที่เป็นเหตุการณ์เฉพาะ มันเป็นเพียงเรื่องของการฉกฉวยประโยชน์จากพฤติกรรมมนุษย์ มันเป็นเรื่องของคนที่มองหาโอกาส ขณะที่คนอื่นกำลังตื่นตกใจจากความกลัวหรือตื่นเต้นจากความโลภ สรุปง่าย ๆ น่าจะเป็นว่า บัฟเฟตต์มองว่า โอกาสในการทำกำไรมากมายจากตลาดหุ้นยังมีอยู่เสมอถ้าเราสามารถแยกตัวเองออกมาจากอารมณ์ต่างๆ
เรื่องของการลงทุนในต่างประเทศ คำถามคือ บัฟเฟตต์สนใจสถานการณ์ของประเทศที่เขาจะลงทุนหรือไม่ นอกจากเรื่องของบริษัทเอง คำตอบคือ เขาสนใจ และยกตัวอย่างเมื่อ 2-3 ปีก่อนที่เขากำลังดูหุ้นพลังงาน 2 ตัว คือ PETROCHINA ของจีนกับ YUCOS ของรัสเซีย ซึ่งบัฟเฟตต์เลือก PETROCHINA เขาบอกว่าราคาหุ้นตัวนี้ถูกมาก ทั้งบริษัทมีมูลค่าตลาดเพียง 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คือประมาณ 1 ใน 4 ของหุ้น EXXON แต่มีกำไรเท่ากับ 80% ของ EXXON
แต่สิ่งที่ทำให้บัฟเฟตต์ ตัดสินใจซื้อก็คือ เมื่อเขาอ่านรายงานประจำปีและพบว่าประธานของ PETROCHINA สัญญาว่าจะจ่ายปันผล 45% ของกำไร ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากในธุรกิจนี้ เขาบอกว่า ถ้าเป็นในสหรัฐ บริษัทควรมีมูลค่าตลาดถึง 85 พันล้านดอลลาร์ ดังนั้น เขาเลือก PETROCHINA
หลังจากนั้น ในเดือนกรกฎาคม ก็ปรากฏว่า เจ้าของ YUCOS ซึ่งเป็นคนที่รวยที่สุดในรัสเซีย ก็ถูกประธานาธิบดีปูตินสั่งจับ โทษฐานที่ไปคิดแข่งกับปูติน บัฟเฟตต์บอกต่อว่า PETROCHINA รักษาคำพูด โดยการจ่ายปันผล 45% โดยคิดละเอียดเป็นทศนิยมหลายตำแหน่ง ในขณะที่ในรัสเซียนั้น สถานการณ์การเมืองย่ำแย่มาก
บัฟเฟตต์ได้พูดถึงกลยุทธ์เลือกการลงทุนในกิจการว่า เขาจะแบ่งบริษัทออกเป็น 3 กลุ่ม โดยจะมีถาดใส่เอกสาร 3 ใบ ใบแรกคือถาด IN ซึ่งจะเป็นบริษัทที่มีความน่าสนใจ มีอนาคตที่สดใส ใบที่สองคือ OUT หรือบริษัทที่ไม่ดี ไม่น่าสนใจลงทุน และถาดที่สามคือ TOO HARD ซึ่งแปลว่ายากเกินไปที่เขาจะเข้าใจ ซึ่งในกลุ่มหลังนี้มีมากเสียจนเขาพูดเล่นๆ ว่าต้องมีถังขยะใบใหญ่ ๆ เอาไว้ทิ้ง นั่นคือ เขาแนะนำว่า เราควรเลือกหุ้นลงทุนน้อยตัวมาก เช่นในชีวิตนี้ ควรคิดว่าเรามีโอกาสที่จะลงทุนในหุ้นเพียง 20 ตัว ซึ่งจะทำให้เราระมัดระวังและศึกษาอย่างละเอียดก่อนที่จะลงทุน
สุดท้าย คำถามที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่งก็คือ นอกจากความสามารถของผู้บริหารและเรื่องของการดูข้อมูลทางด้านการเงินแล้ว ปัจจัยอะไรที่ทำให้บัฟเฟตต์ตัดสินใจได้เร็วมากในการลงทุน
คำตอบก็คือ เขามีเครื่องกรองในการลงทุน 4 ข้อ
เครื่องกรองที่ 1 : เราสามารถเข้าใจธุรกิจที่จะลงทุนไหม มันจะเป็นอย่างไรในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ยกตัวอย่างเช่น INTEL กับหมากฝรั่ง บัฟเฟตต์บอกว่าเขาจะลงทุนเฉพาะในสิ่งที่เขารู้จักดี เช่น โค้ก
เครื่องกรองที่ 2 : บริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่ นั่นเป็นเหตุให้เขาไม่ซื้อกิจการที่เป็นแฟชั่นเช่น ของเล่นเด็ก แต่จะซื้อน้ำอัดลมและหมากฝรั่งที่มียี่ห้อ และมีความได้เปรียบที่คนอื่นแข่งไม่ได้
เครื่องกรองที่ 3 : บริษัทมีฝ่ายจัดการที่เราสามารถไว้วางใจได้หรือไม่
เครื่องกรองที่ 4 : ราคาหุ้นสมเหตุผลไหม
และนั่นก็คือ ความคิดเห็นบางส่วนที่บัฟเฟตต์พูดกับนักศึกษาซึ่งเป็นสิ่งที่เขาทำเป็นครั้งคราว และเป็นกลยุทธ์ที่ออกจากปากบัฟเฟตต์เอง ดังนั้น มันจึงเป็นของแท้
________________________________________
Sham Gad on Value Investing: Inspirations from Graham and Buffett “Investing is most prudent when it is most businesslike” – Ben Graham, THE INTELLIGENT INVESTOR
Monday, January 22, 2007 Buffett Speaks
original from http://shamgad.blogspot.com/2007/01/buffett-speaks.html
I just returned from a two day visit to Omaha, Nebraska to visit with Warren Buffett at Berkshire Hathaway. I took along 50 of my fellow MBA classmates. As expected, the Sage of Omaha was full of humor while dispensing his unique, masterful thoughts on business and life.
Unlike most student visits to Omaha, this one was unique in that we had extensive access to Mr. Buffett…nearly seven hours over the course of two days. Most schools consider it a major coup to score 2 hours with him and others spend tens of thousands of dollars for a two hour lunch with Buffett (see eBay for future lunch dates).
The time was priceless…we spoke of the early years with Buffett working for Ben Graham, the formation of the legendary partnership in 1956, his remarkable gift to the Bill and Melinda Gates foundation, and of course, investing.
The notes of this trip will be available on this blog shortly. For now, I will share some highlights of the meeting.
I asked Buffett about the state of the securities markets in the U.S. going forward and how they will compare to the period in which he operated and how he could make 50% or more per year…
Buffett: “It’s a structural issue…yes, with a small sum like a million dollars, I could make 50% or more a year. The key is rationality. There are always going to be times when humans act irrational and this is time to make your money. I’ve made a career of cashing in when people act irrational.”
If you consider some of Buffett’s most successful investments–American Express, the Washington Post Company, and Gieco–they were all made during the absolute worst times for these companies. Times when nobody wanted anything to do with them.
Buffett then picked up a copy of the 2004 Citigroup Investment Guide to Korean stocks and began flipping through the pages,
Buffett: “A couple of years ago I got this investment guide on Korean stocks. I began looking through. It felt like it was 1974 all over again. Look here at this company…Dehan, I don’t know how you pronounce it, Flour Company. It earned 12,879 won previously. It currently had a book value of 200,000 won and was earning 18,000 won. It had traded as high as 43,000 and as low as 35,000 won. At the time, the current price was 40,000 or 2 times earnings. In 4 hours I had found 2o companies like this.”
What Buffett said next is critical,
Referring to having found 2o or so companies like Dehan Flour Buffett remarks,
“When you invest like this, you will make money. Sure 1 or 2 companies may turn out to be poor choices, but the others will more than make up for any losses.”
It’s critical to understand the mental model Buffett has going into these investments in Korea. A portfolio of carefully selected stocks in understandable businesses trading at very attractive valuations generate abnormal returns. While I don’t have Buffett’s personal investment record, I am certain he was making 40-50% returns in Korea simply by choosing a portfolio of stocks with strong earnings records trading at very low multiples to earnings. Ironically, this model is not new…it was actually revealed by efficient market advocates Fama and French in there three-factor model. Over time, low P/E, low book, small companies tend to outperform. Apply a little more intensity, as Buffett is famous for doing, and you can make lots of money.
One of Buffett’s most successful international investments was PetroChina, China’s largest oil producer.
Buffett: “The whole company was selling for $35 billion. It was selling for one-fourth of the price of Exxon, but was making profits equal to 80% of Exxon. I was reading the annual report one day and in it I saw a message from the Chairman saying that the company would pay out 45% of its profits as dividends. This was much more than any company like this, and I liked the reserves.”
The Chinese government owns 90% of PetroChina, so only 10% was available to outside investors. Even with this lopsided ownership, Buffett liked the company enough to buy 13% (actually 1.3% of 10%, but Buffett likes to joke that the company is owned by him and the Chinese gov’t)
“I was considering buying this company, but I was also looking at Yukos in Russia. This was cheap, too. I decided I’d rather be in China than Russia. I liked the investment climate better in China. In July, the owner of Yukos, Mikhail Khodorkovsky (at that time, the richest man in Russia) had breakfast with me and was asking for my consultation if they should expand into New York and if this was too onerous considering the SEC regs. Four months later, Khodorkovsky was in prison. Putin put him in. He took on Putin and lost. His decision on geopolitical thinking was wrong and now the company is finished. Petro China was the superior investment choice. 45% was a crazy amount of dividends to offer but China kept its word. I am never quite as happy as I am in the US, because the laws are more uncertain elsewhere, but the point is to buy things cheap.”
Once again, “the point is to buy things cheap.” Because the company is not in the U.S., Buffett applies more filters before committing capital.
“So we own 1.3% of this company and it cost us around $400 million. Now it’s worth $3 billion.”
Look closer and you can see the real value in this investment…the dividend payout. When Buffett made his investment, PetroChina was paying a dividend of close to 9-10% (I know because I bought some shares the minute I heard of Buffett’s stake and about 5 minutes of my own research.) At the time the stock price was about $30 per ADR, but Buffett purchased H shares directly in China at a lower price. The stock currently trades at about $125 per ADR and yields 5%…you do the math…about $6 per share on a $30 cost basis or even lower…margin of safety?
Buffett also had a copy of the 1951 Moody’s Banking and Insurance Manual.
“There were four Moody’s manuals at the time. I went through them all, page by page, over 10,000 pages. On page 1433, I found Western Insurance Securities. Its earnings per share were as follows: 1949 – $21.66, 1950 – $29.09. In 1951, the low-high share price was $3 – $13. Ten pages later, on page 1443, I found National American Fire Insurance (“This book really got hot towards the end!”) NAFI was controlled by an Omaha guy, one of the richest men in the country, who owned many of the best run insurance companies in the country. He stashed the crown jewels of his insurance holdings in NAFI. In 1950, it earned $29.02. The share price was $27. Book value was $135. This company was located right here in Omaha, right around the corner from I was working as a broker. None of the brokers knew about it. This book made me rich.”
Sham Gad can be reached at shamgad@gmail.com
Posted by Sham Gad at 5:40 PM

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *