การสำรวจความพึงพอใจพนักงาน

การสำรวจความพึงพอใจพนักงาน

เป็นการสำรวจเพื่อค้นหาอะไรๆ หลายๆอย่างมาเพื่อใช้ในการตัดสินใจในทางการบริหารพนักงาน การสำรวจนี้ ไม่ควรมองว่าเป็นการสำรวจเพื่อเป็นการเอาใจพนักงาน แต่ผลสำรวจนั้นเป็นข้อมูลที่อธิบายว่า องค์กรแห่งนี้ มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น และอะไรเป็นสาเหตุของปัญหาเหล่านั้น
การสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน ไม่ใช่เครื่องมือสำเร็จ และใช้เป็นเครื่องมือหาสาเหตุของปัญหาพนักงานอย่างเบ็ดเสร็จ แต่การสำรวจนี้ ก็สามารถที่จะพอตอบปัญหาเหล่านี้ให้กับองค์กรได้ เช่น แนวโน้มการลาออก การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานๆ ความสุขในการใช้ชีวิตในการทำงานของพนักงาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ องค์กรสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อออกนโยบายมาเพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน ทั้งนี้เพราะความพึงพอใจในการทำงานจะมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของพนักงานนั่นเอง
โดยทั่วไปแล้ว
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้สึกพึงพอใจใจการทำงานของพนักงานสามารถแยกได้เป็น 9 องค์ประกอบ

1 ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล (Achivement) หมายถึง การที่บุคคลสามารถทำงานได้เสร็จสิ้น และประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพอใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงานนั้น ๆ ในประเด็นจะเป็นข้อมูลให้องค์กรรับรู้ถึง ความสามารถของพนักงานว่า มีความสามรถที่จะทำงานให้สำเร็จเพียงใด พึงพอใจในความสำเร็จเพียงใด ซึ่งสามารถนำผลสำเร็จไปเปรียบเทียบกับ ผลลัพธ์ในงานที่เกิดขึ้นจริง
2 การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือ
ไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อน จากผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือจากบุคคลใน หน่วยงาน การยอมรับนี้อาจจะอยู่ในรูปของการยกย่องชมเชย แสดงความยินดี การให้กำลังใจ หรือการแสดงออกอื่นใดที่ก่อให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ เมื่อได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดบรรลุผลสำเร็จ การยอมรับนับถือจะแฝงอยู่กับความสำเร็จในงานด้วย
3 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (The Work Itself) หมายถึง งานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ท้าทายให้ลงมือทำ หรือเป็นงานที่มีลักษณะ สามารถกระทำได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพังแต่ผู้เดียว
4 ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้รับ
มอบหมายให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆ และมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ไม่ มีการตรวจ หรือควบคุมอย่าง ใกล้ชิด
5 ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง ได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของ บุคคลในองค์การ การมีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่ม หรือได้รับการฝึกอบรม
6 ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน
(Interpersonal Relation Superior, Subordinate and Peers) หมายถึง การติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจา ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงาน ร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างดี
7 นโยบายและการบริการ (Company Policy and Administration) หมายถึง การจัดการและการบริหารขององค์การ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ
8 สภาพการทำงาน (Working Conditions) หมายถึง สภาพทางกายภาพของงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งลักษณะของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
9 วิธีการปกครองบังคับบัญชา (Supervision-Technical) หมายถึง ความสามารถของผู้บังคับบัญชาในการทำงาน หรือความยุติธรรมในการบริหาร

ทั้ง 9 ปัจจัยที่นำมาศึกษาและสำรวจ ก็จะเป็นให้องค์กรทราบข้อมูล แล้วนำไปวิเคราะห์สาเหตุ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้พนักงานมีความพึงพอใจในงานมากขึ้น เมื่อพนักงานมีความพึงพอใจมากขึ้นก็จะทำให้พนักงานอยู่กับองค์กรได้นานๆ ทำให้ประสิทธิผลประสิทธิภาพมากขึ้น การที่พนักงานอยู่กับองค์กรได้นาน เราก็ไม่ต้องเสียเวลาในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงานใหม่ เหมือนกับต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่อยู่ตลอด เวลา

ที่มา : http://masterly.igetweb.com/i

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *