การนำระบบ Supply Chain Management (SCM) มาใช้ในธุรกิจ SMEs

การนำระบบ Supply Chain Management (SCM) มาใช้ในธุรกิจ SMEs

จากบทความที่แล้วเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส ์และการบริหารห่วงโซอุปทาน ที่อธิบายความหมายและความแตกต่างของทั้ง 2 คำนี้แล้ว คร่าวนี้จะมาพูดถึงการนำระบบห่วงโซอุปทานมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเอสเอ็มอี โดยธุรกิจที่เหมาะที่จะนำระบบ Supply Chain Management เข้ามาช่วยในการบริหารธุรกิจ จะมีลักษณะดังนี้
1) เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง
2) ความต้องการสินค้าของลูกค้ามีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3) ผลิตภัณฑ์/สินค้ามีวงจรชีวิตสั้น
ซึ่งก็เป็นลักษณะหลักๆของธุรกิจเอสเอ็มอี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า และธุรกิจอาหาร เป็นต้น โดยในปัจจุบันระบบ Supply Chain Management ถูกพัฒนาให้มีการบริหารที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยนำคอมพิวเตอร์เข้ามา เป็นเครื่องช่วยสำคัญ เรียกว่า ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
มีบริษัทขนาดใหญ่หลายรายได้นำระบบนี้เข้ามาใช้งาน โดยหลักการเบื้องต้นของ Supply Chain Management เป็นเรื่องของ การจัดการวัตถุดิบเป็นหลักก่อน ต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการดูแลสินค้าคงคลัง และเป็นที่นิยมมากขึ้น จนเป็นเรื่องของการตอบสนอง ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทั้งหมดจะใช้บาร์โค้ดเป็นตัวหลักเพื่อเป็นการประหยัดเวลา เพราะหากสต็อกของผู้ที่รับสินค้าคุณ ไปขายหมดลงเมื่อไหร ่ระบบ Supply Chain จะแจ้งคุณทันทีทางคอมพิวเตอร์ และแจ้งต่อไปยังซัพพลายเออร์ที่ขายวัตถุดิบ ให้กับคุณ ส่งต่อไปให้โกดังที่ทำกล่องกระดาษบรรจุสินค้าคุณโดยจะส่งต่อไปหมดทุกที่ เช่นหากมีคนไปซื้อสินค้าของคุณ ในห้างสรรพสินค้า เมื่อไปถึงแคชเชียร์ แคชเชียร์อ่านรหัสบาร์โค้ด ระบบก็จะตัดสต็อกทันที ซึ่งระบบจะเป็นแบบนี้ตลอดไปทำให้ง่าย ต่อการควบคุมสต็อกและการทำงาน จึงสามารถลดต้นทุนค่าแรงงานคนงาน ค่าจ้างพนักงานขายและต้นทุนอื่นๆ ได้อีกมาก
ดังนั้นธุรกิจเอสเอ็มอีที่กำลังเติบโตสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ได้เช่นกัน อาจเริ่มต้นจากการบริหารให้แต่ละหน่วยงานภายในองค์กร สามารถส่งมอบชิ้นงานที่มีคุณภาพให้กับหน่วยงานถัดไปได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ฝ่ายจัดซื้อ ประสานงาน และพัฒนา ความสัมพันธ์กับ supplier ให้สามารถจัดส่งสินค้าได้ ฝ่ายผลิต วางแผนการผลิตสินค้า/บริการ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ฝ่ายจัดส่ง พัฒนาและค้นหาวิธีการในการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้ตามเวลาที่ตกลงกัน แผนกคลังสินค้ามีการบริหารพัสดุคงคลัง ให้หมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เก็บสต็อกมากหรือน้อยเกินไป เมื่อหน่วยงานภายในปฏิบัติได้ดีแล้ว หลังจากนั้น อาจขยายออก ไปสู่ supplier ภายนอกได้
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการนำระบบ Supply Chain Management มาใช้บริหารงานควรต้องมี
1.เข้าใจความหมายและหลักการของห่วงโซ่อุปทาน
2.มีวินัยในการวางแผนและการบริหารตารางกิจกรรมต่างๆ
3.มีระดับของการสื่อสารและการเชื่อมโยงของแผนและข้อมูลต่างๆระหว่างหุ้นส่วนที่ดีเยี่ยม
4.มีวิสัยทัศน์ (Logistics Vision) ที่มุ่งที่จะลดต้นทุนและยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า
5.รู้ว่าจะบริหารและจัดการโลจิสติกส์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมธุรกิจ
6.การใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี
7.การพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันตลอดห่วงโซ่
8.การสร้างวัฒนธรรมที่เน้น Serviced and Integrated Business Mind
แนวทางในการจัดการปัญหาทางโลจิสติกส์
1.การเพิ่มระดับการให้บริการ – การลดต้นทุน
2.พัฒนากลยุทธ์การให้บริการลูกค้า
3.ลดความความน่าจะเป็นที่สินค้าจะขาดมือ
4.ลดระยะเวลานำส่งสินค้า
5.ใช้พื้นที่ขายให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้าง ความดึงดูดลูกค้า
ความต้องการเพิ่มกำไร – ลดต้นทุน
1.ลดสินค้าคงคลังและกิจกรรมที่ไม่เกิดประโยชน์
2.ขจัดปัญหาคอขวดและความล่าช้าในการจัดส่ง
3.กำหนดจำนวน / ที่ตั้ง / ขีดความสามารถของโรงพัก สินค้าให้เหมาะสม
4.ใช้การสั่งซื้อวัตถุดิบคราวละมาก ๆ เพื่อได้ส่วนลด
5.ใช้อุปกรณ์ / ยานพาหนะให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6.ลดต้นทุนโดยรวมของธุรกิจ
ดังนั้นเมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่นำระบบ Supply Chain Management เข้ามาช่วยในการบริหารงานจะทำให้สามารถลดต้นทุนได้ และสามารถลดเวลาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีสินค้าตอบสนองผู้ซื้อและผู้ขายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อธุรกิจ อย่างมาก และเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปก็ต้องเปลี่ยนตาม เช่น มีการออกสินค้าใหม่ มีบริการให้ดีขึ้น ทำให้ทั้งผู้ประกอบการ และผู้บริโภคมีความพึงพอใจสูงสุด เพราะสินค้าสามารถไปถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

ที่มา : http://www.siaminfobiz.com/

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *