การจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์

 

เป้าหมายของการทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กร (Objective & Goal) เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ในการตอบรับต่อสภาพอันท้าทายที่มาจากภายนอก  แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโลจิสติกส์ ไม่อาจอยู่ด้วยตัวเองตามลำพังหรือเป็นกระบวนการแบบโดดๆที่ไม่พึ่งกระบวนการใดมาเชื่อม แต่จะต้องมาจากความร่วมมือ ร่วมใจของพนักงานทุกระดับ ซึ่งขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนา จะต้องกำหนดเป้าหมาย (Goal) ต้องมีการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นทิศทางให้พนักงานทั้งองค์กรเข้าใจถึงเป้าหมายและเจตจำนงขององค์กรที่ต้องการที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่ออะไร , ทำไมต้องทำ , ไม่ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับองค์กรและพนักงาน โดยการกำหนดเป้าหมายจะต้องชัดเจนสื่อสารกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้เข้าใจว่า ทำไมถึงต้องสนับสนุนต่อเป้าหมายขององค์กร และควรจะสนับสนุนอย่างไร ซึ่งเป้าหมายควรจะกำหนดมาจากเงื่อนไขภายนอก ซึ่งได้มีการจัดทำการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร (SWOT Analysis) โดยอาจจะผ่านกระบวนการจัดทำระบบแข่งดีหรือ Benchmarking
          เมื่อกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการกำหนดแผนปฎิบัติการ (Mission Plan) คือ กิจกรรมซึ่งเป็นภารกิจของธุรกิจที่ต้องดำเนินการไปในทิศทางที่ได้กำหนดตามเป้าหมายขององค์กร (Goal) โดยเน้นระบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และมีการจัดการในการจูงใจ (Motivative) พนักงานให้มีความต้องการที่จะทำให้ภารกิจนั้นบรรลุให้ได้ตามแผนและเป้าหมาย (Goal) ซึ่งแผนปฏิบัติการจะต้องประสานกับแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะเป็นการสร้างและเน้นการเปลี่ยนระบบ Logistics ให้กลายเป็น Just in Time Value ทั้งองค์กร และสนองตอบการสร้างและส่งมอบคุณค่า (Value) ให้กับลูกค้า ภารกิจที่ครอบคลุมองค์กร จะเป็นพลังขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องในกิจกรรม
         การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) คือ การเลือกเฟ้นกิจกรรมมาสร้างเป็นจุดแข็งให้องค์กรมีความเหนือกว่า (Strength)  โดยนำการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์มาดำเนินในเชิงปฏิบัติอย่างเป็นระบบ  กำหนดเนื้อหาของแผนยุทธศาสตร์ต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย สร้างความแตกต่าง (Differentiate) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างชัดเจน ควบคู่ไปกับดัชนีชี้วัด KPI เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาองค์กรไปสู่การสร้างคุณค่า (Value) ให้กับสินค้า-บริการได้ดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งความสำคัญขึ้นอยู่ที่การพัฒนาแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategic Map) เป็นกรอบหรือแนวทางตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาขององค์กร ให้มีการสื่อสารที่ดีไปยังพนักงานในทุกระดับชั้นขององค์กร เพื่อนำไปปฏิบัติ และดำเนินการให้สำเร็จจะต้องผ่านกระบวนการภายใน ในการเสริมสร้างองค์ความรู้และเพิ่มทักษะของพนักงาน (Skill Building) โดยการเรียนรู้และการฝึกอบรม (Learning & Training) รวมถึงกระบวนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันในองค์กร (Knowledge Transfer) และการมี Team Work การตั้งใจจริงของผู้บริหารระดับสูง จนถึง พนักงานระดับล่าง ซึ่งจะต้องเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) เพื่อการร่วมกันจัดทำแผนในการแก้ไขและปรับปรุงการทำงาน ธำรงจุดแข็งลบจุดอ่อน ด้วยการนำระบบการจัดการ มาใช้ในองค์กร เพื่อให้ธุรกิจมีขีดความสามารถและมีความยั่งยืนตลอดไป
         ระบบปฏิบัติการห่วงโซ่อุปทาน จะต้องเจาะจงความต้องการและวางแผนให้สอดคล้อง (Specifying Requirements & planning Supply.)  โดยการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อผลิตและให้บริการตรงความต้องการของลูกค้า กำหนดความต้องการและวางแผนด้านอุปทาน เจาะจงจำนวนและการส่งมอบ โดยการบริหารจัดการอย่างเป็นขั้นตอน โดยต้องให้ความสำคัญก่อนหลัง  ทำความเข้าใจตลาดอุปทาน แยกแยะวิธีการตั้งราคา สนับสนุนการใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ และนำข้อมูลมาจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ , กำหนดรูปแบบของระบบงาน , ยุทธศาสตร์งานประจำ , ยุทธศาสตร์แก้งานติดขัด และยุทธศาสตร์แก้ปัญหาวิกฤติ
         แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโลจิสติกส์ในองค์กรก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ Value Added  (Goal of value added building) โดยจะประกอบด้วยปัจจัยแห่งความเป็นเลิศ
               1. Real Perfect มุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติเพื่อให้เกิดการสนองตอบที่ดีต่อลูกค้า (ECR)
               2. Non Defect Systematic ขจัดความบกพร่องอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิด Best Practice Organization
               3. Value Chain สร้างโซ่แห่งคุณค่า เพื่อให้เกิด Customer Loyalty
               4. Differentiate สร้างความแตกต่างที่ลอกเลียนแบบได้ยาก เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitiveness)
               5. Surplus Utility ทำให้อรรถประโยชน์ส่วนเกิน เพื่อให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถอย่างยั่งยืน (Sustainable Business)
          การนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ จะต้องมีการจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ซึ่งจะต้องมีการเชื่อมโยงหรือปรับเปลี่ยนเป้าหมายองค์กร โดยแผนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายในการทำงานของพนักงาน เพราะแผนที่ดีเลิศเพียงใด หากพนักงานไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่เต็มใจที่จะนำไปใช้ ก็อย่าคาดหวังเลยว่าแผนงานนั้นๆจะประสบความสำเร็จที่สำคัญที่สุดจะต้องนำระบบปฏิบัติการเป็นเลิศ หรือ Best Practice Management นำมาใช้สนับสนุน โดยการกำหนดโครงสร้างสถาบัน จัดทำดัชนีชี้วัด โดยทั้งหมดจะต้องมุ่งไปสู่เป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ก่อให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า (Core Satisfaction) และมุ่งให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ (Value Added) ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการสร้างผลกำไรตอบแทนและธุรกิจที่ยั่งยืน (Business Sustainable) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวก็เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์…

 

ที่มา คุณธนิต โสรัตน์

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *