การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ในสถานการณ์เงินเฟ้อสูง

การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ในสถานการณ์เงินเฟ้อสูง

ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความเป็นไปได้สูงที่

อัตราเงินเฟ้ออาจจะไม่เป็นไปตามกรอบเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์เอาไว้

การใช้มาตรการหรือนโยบายแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการแทรกแซงราคาจะเป็นภาระงบประมาณในอนาคต แม้ฐานะของงบประมาณ จะยังสามารถทำขาดดุลเพิ่มเพื่อดูแลเศรษฐกิจได้ก็ตาม แต่ควรใช้งบขาดดุลเพื่อการลงทุน มากกว่าการใช้จ่ายเงินเพื่อแทรกแซงราคา เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ขณะที่นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ก็ควรจะดำเนินการอย่างระมัดระวังในสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว

การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การทำงาน รวมทั้งลดต้นทุน เพื่อรักษากำไรของกิจการไม่ให้ลดต่ำมากเกินไป สิ่งที่ภาคเอกชนต้องเตรียมรับสถานการณ์เงินเฟ้อสูง ต้นทุนแพง คือ การปฏิรูปภายในองค์กร

เริ่มต้นจาก จุดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดการรั่วไหลได้จำนวนมาก คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหา โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า

การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ (Strategic Sourcing) เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มอำนาจการต่อรองกับผู้ขาย จากการวางแผนความต้องการที่จัดเจน การกำหนดมาตรฐานสิ่งของที่ชัดเจน ไม่หลากหลายจนเกินความจำเป็นที่แท้จริง รวมถึงการศึกษาถึงสภาวะตลาดและห่วงโซ่อุปทานของสินค้านั้นๆ เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การจัดหาให้ได้สินค้าที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการขององค์กรในราคาที่เหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในห่วงโซ่อุปทาน

เป้าหมายสูงสุดของการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ คือ การสร้างกำไรด้วยประสิทธิภาพในการลดต้นทุนด้านราคาของสินค้า และต้นทุนเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดหา ควบคู่ไปกับการพัฒนากระบวนการจัดซื้อจัดหาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้าและบริการของผู้ขาย

ขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ (Phase) ด้วยกันคือ

q ระยะที่ 1 : การเตรียมความพร้อม (Project Preparation)

q ระยะที่ 2 : ดำเนินการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ (Strategic Sourcing Action)

q ระยะที่ 3 : ประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Evaluation and Continuous Improvement)

การวิเคราะห์เพื่อกำหนดตลาดเป้าหมายของผู้ขายสามารถจะทำให้สามารถโฟกัส (Focus) ได้ว่ากลุ่มผู้ขายรายใดมีศักยภาพและสามารถขายสินค้าให้กับองค์กรได้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เหมาะสมกับเงื่อนไขความต้องการ ที่องค์กรกำหนด เช่น การศึกษาต้นทุนของสินค้า ระดับคุณภาพ ระดับการให้บริการ เป็นต้น

เราสามารถแบ่ง Segment ออกเป็น 2 มิติ คือ มูลค่าของสินค้า และผลกระทบหรือความเสี่ยงในการขาดแคลนสินค้าต่อองค์กร ซึ่งจากมุมมองดังกล่าวสามารถแบ่งตลาดเป้าหมายของผู้ขายหรือสินค้าออกได้เป็น 4 กลุ่ม ผู้ขายที่อยู่ในแต่ละตลาดเป้าหมาย ก็จะต้องใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันไปในการจัดซื้อจัดหา

Commodity : มูลค่าต่ำ ความเสี่ยงต่ำ เช่น อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น

Leverage : มูลค่าสูง ความเสี่ยงต่ำ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

Bottleneck : มูลค่าต่ำ ความเสี่ยงสูง เช่น สินค้าผูกขาด (Monopoly) เป็นต้น

Strategic : มูลค่าสูง ความเสี่ยงสูง เช่น วัตถุดิบในกระบวนการผลิต เป็นต้น

(แหล่งข้อมูล – eprocurement Solution บริษัทพันธวณิช)

วันนี้ ภาคธุรกิจควรเร่งปฏิรูปภายในองค์กร ยกระดับประสิทธิภาพ ลดต้นทุนโดยไม่ปลดคนงานออก เพื่อความอยู่รอดของกิจการ และเตรียมรับมือกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจครับ

ที่มา : http://www.siaminfobiz.com/

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *