กล่องดำ การทำงาน

กล่องดำ การทำงาน

จาก รู้ไปหมด

ศูนย์นิรภัยการบิน กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศเปิดเผยว่า แท้ที่จริงแล้วกล่องที่ว่านี้มีอยู่หลายสี ไม่เฉพาะสีดำ สีที่เห็นกันบ่อยคือสีส้ม แต่ไม่นิยมเรียกว่ากล่องส้ม จะรวมๆเรียกกันว่า กล่องดำ

กล่องดำทำจากโลหะพิเศษที่ทนทาน ทนแรงกระแทกอย่างรุนแรง ทนน้ำทนไฟ เวลาที่เครื่องบินตกและเกิดระเบิดอย่างรุนแรง กล่องดำมักจะไม่ได้รับความเสียหาย ตำแหน่งที่ติดตั้งจะอยู่ส่วนหางของเครื่องบิน เพราะเป็นบริเวณที่แข็งแรง และเมื่อเครื่องบินตก ส่วนหางจะได้ผลกระทบกระเทือนน้อยที่สุด

ภายในกล่องดำแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นแถบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการบิน พิกัด ความเร็ว ระดับความสูง การเร่งผ่อนคันบิดปิดเปิดน้ำมัน แรงขับของเครื่อง และตำแหน่งของ แฟลบปีก เป็นต้น ส่วนที่สองเป็นแถบบันทึกเสียงการสนทนาภายในห้องนักบิน การติดต่อระหว่างนักบินกับหอบังคับการบิน รวมทั้งเสียงของลูกเรือที่เข้ามาในห้องนักบิน

กล่องดำจะบันทึกเหตุการณ์ทุกอย่าง โดยจะเริ่มบันทึกตั้งแต่นักบินติดเครื่องไปจนถึงดับเครื่อง สมมติว่าเครื่องบินบินจากกรุงเทพฯไปลอนดอนต้องใช้ระยะเวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง กล่องดำก็จะบันทึกข้อความตลอด 12 ชั่วโมง แต่หากมีอุบัติเหตุขึ้นข้อความที่สำคัญที่สุดจะอยู่ในช่วง 30 วินาทีสุดท้าย ซึ่งส่วนใหญ่นักบินจะมาทราบว่ามีอะไรผิดพลาดก็ตอนที่เครื่องใกล้ๆจะตก ซึ่งผู้ตรวจสอบจะเอากล่องดำทั้ง 2 กล่อง คือ กล่องบันทึกข้อมูลระหว่างนักบินกับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินและกับลูกเรือ ส่วนอีกกล่องคือส่วนที่บันทึกข้อมูลตัวเลขการบินต่างๆไปตรวจสอบประกอบกัน จึงเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญแหล่งหนึ่งที่จะบ่งชี้ถึงสาเหตุอับปางของเครื่องบินได้ เมื่อพบกล่องดำแล้ว จะถูกส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ หน่วยงานที่ได้รับการยอมรับคือ สถาบันเอ็นทีเอสบี ของสหรัฐอเมริกา การพิสูจน์และไขปริศนากล่องดำนี้จะกินเวลานานและเป็นความลับ

ข้อมูลที่เคยตอบไปแล้ว

ผมได้ดูข่าวต่างประเทศ เครื่องบินตกทะเลหรือมหาสมุทร จะเห็นเจ้าหน้าที่ต้องหากล่องดำของเครื่องบินแล้วใส่ถุงที่มีน้ำอยู่ด้วย เพื่ออะไรครับ-ป่าแก่ เบตง

ตอบ- กล่องดำ เรียกอย่างเป็นทางการว่า เครื่องบันทึกเสียงของนักบิน The Cockpit Voice Recorder(CVR) และข้อมูลการเบิน Flight Data Recorder(FDR) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่บันทึกเหตุการณ์สุดท้ายของอุบัติเหตุทางเครื่องบินในแต่ลเเที่ยวบินเอาไว้ เริ่มคิดค้นกันช่วงทศวรรษ 1950

ช่วงปี พ.ศ. 2521-2539 กล่องดำบันทึกอุบัติเหตุทางกอากาศมากกว่า 28 เหตุการณ์ ที่ดังมากๆได้แก่ เครื่องบินวาลูเจ็ตโหม่างโลก เมื่อปี 2539 หรือเมื่อเร็วๆนี้ ช่วงที่เครื่องบินการเบินไทยตก เราจะได้ยินคำว่ากล่องดำบ่อยๆกล่องดำจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพิสูจน์สาเหตุการตก บางครั้งจะพบว่า เกี่ยวข้องกับการก่อวินาศกรรม การชนกับฝูงห่าน การขัดข้องของเครื่องยนต์

ส่วนที่เป็นข้อมูลการบินหรือ FDR จะบันทึกอัตราความเร็ว ความกดอากาศ ระบายความสูงที่บิน อัตราความเร็วของเครื่องยนต์ อุณหภูมิ ตำแหน่งของการควบคุม และสถานะฉุกเฉิน เวลา การเร่งความเร็ว ฯลฯ ได้นาน 200 ชั่วโมงบิน ส่วน CVR จะบันทึกเสียงนักบินและนักบินผู้ช่วย การประกาศต่อผู้โดยสาร เสียงเครื่องยนต์ การสื่อสารระหว่างเครื่องบินกับสถานีภาคพื้นดิน สภาพอากาศ การเพิ่มหรือลดเกียรต์ลงจอด ฯลฯ ได้นาน 30 นาทีสุดท้าย

กล่องดำเป็นกล่องที่จะทนความร้อนสูงมาก ถ้าเจอความร้อนถึง 1,100 องศา มันจะอยู่ได้นาน 30 นาที ถ้าเจอประมาณ 260 องศา จะทนได้นาน 10 ชั่วโมง

ตัวกล่องดำจะไม่ได้สีดำอย่างชื่อ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะสีแสดพาดเส้นขาวสะท้อนแสง เพื่อช่วยให้การค้นหาด้วยตาง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังเหมาะกันค้นหาด้วยสัญญาณวิทยุระบบอุลตรา โซนิค ซึ่งจะกระตุ้นให้ติดต่อถึงกันด้วยน้ำ ปกติแล้วจะส่งสัญญาณวิทยุค้นหาด้วยความถี่ 37.5 กิโลเฮิรตซ์ ได้ประมาณ 30 วัน ในระยะทาง 2 ไมล์ และมากกว่าความลึก 4 หมื่นฟุต การที่เจ้าหน้าที่ค้นหาไปเก็บกล่องดำมาได้และบรรจุใส่ถุงที่มีน้ำอยู่ด้วย ทางกรมพาณิชย์การบินให้เหตุผลว่า ก็เพื่อรักษาสภาพกล่องดำกรณีที่กล่องแช่อยู่ในทะเลหรือแหล่งน้ำ ถ้าตกลนบกก็ไม่จำเป็นต้องใช้

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *