ใช้ ‘น้ำยาบ้วนปาก’ ไม่ระวัง ทำรับรสเพี้ยน!

ใช้ ‘น้ำยาบ้วนปาก’ ไม่ระวัง ทำรับรสเพี้ยน!
• คุณภาพชีวิต
ทำลายแบคทีเรียตัวดี ก่อหินปูนง่ายขึ้น

ลมหายใจหอมสดชื่น ใครๆ ก็อยากมีเพราะเรื่องของกลิ่นปากทำให้หลายๆคนเสียบุคลิกภาพกันมานักต่อนักแล้วซึ่งสิ่งหนึ่งที่ช่วยคุณได้นอกจากลูกอมหรือหมากฝรั่ง หลังการแปรงฟันของคุณการใช้น้ำยาบ้วนปากนั่นเอง

การใช้น้ำยาบ้วนปากมีจุดประสงค์หลายประการ ได้แก่

– เพื่อลดเชื้อโรคภายในช่องปาก

– เพื่อระงับกลิ่นปากที่เกิดจากสาเหตุภายในช่องปากชั่วคราว

– เพื่อทำให้ปากชุ่มชื้น สดชื่นจากกลิ่นและรสของยา

– เพื่อลดอาการข้างเคียงของรังสีรักษา ประเภทของน้ำยาบ้วนปากมีทั้งแบบที่สามารถทำใช้ได้เองและที่ใช้กันทั่วไปคือมีส่วนผสมของสารต่างๆ

น้ำยาบ้วนปากที่สามารถทำได้เองโดยการใช้เกลือประมาณ ½ – 1 ช้วนชาละลายในน้ำอุ่นประมาณค่อนถ้วยแก้วคนให้ละลาย ใช้อมกลั้วปากบ่อยๆ ทุกวันอย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง หรืออมไว้นานอย่างน้อย 5 นาที โดยอมบ้วนปากหลังอาหาร ก่อนนอน จะช่วยลดการเกาะตัวของแผ่นคราบฟันได้

ส่วนแบบที่ใช้กันทั่วไป คือ สูตรผสมสารฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ แบ่งออกเป็น

– แบบอมบ้วนปากทุกวัน พวกนี้มีโซเดียมฟลูออไรด์อยู่ 0.05% ใช้อมบ้วนปากและฟันประมาณ 2 นาที โดยมากทำหลังแปรงฟัน และก่อนนอน หรือถ้านำไปใช้ในโรงเรียน ก็ให้อมบ้วนปากหลังแปรงฟันกลางวัน

– แบบอมบ้วนปากทุก 2 สัปดาห์ มีโซเดียมฟลูออไรด์ 0.2% ให้อมครั้งเดียวทุก 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ การใช้น้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ หลังแปรงฟันทุกวัน โดยอมกลั้วปากนาน 2 – 3 นาที มีรายงานว่าสามารถลดการเกิดฟันผุได้ โดยใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 1 – 3 ปี และช่วยลดการเกาะของคราบจุลินทรีย์

สำหรับการเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากควรเลือกชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือมีแต่น้อยเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปากและอาการแสบในช่องปาก โดยเฉพาะถ้ามีแผลในช่องปากอยู่แล้ว น้ำยาบ้วนปากที่มีขายโดยทั่วไป มีรส กลิ่นและสีต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นสูตรต่างประเทศ จึงมักมีราคาค่อนข้างสูง เลี่ยงใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของกรด เนื่องจากอาจทำให้ผิวฟันกร่อน เมื่อผิวเคลือบฟันบางลงจะทำให้มีอาการเสียวฟันตามมาได้

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำยาบ้วนปากติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ไปทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ดีที่อาศัยอยู่ในปากให้ตายไปด้วยอาจนำมาซึ่งเชื้อราในช่องปาก ทำให้ตุ่มรับรสของลิ้นเพี้ยนไป มีสีเคลือบผิวฟันที่เปลี่ยนแปลงหรือทำให้เกิดหินปูนได้ง่าย

ส่วนยาสีฟันที่อ้างว่าสามารถลดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นปากได้นั้น ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่ายาสีฟันจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในปากได้ ซึ่งประสิทธิภาพของยาสีฟันที่อ้างว่าลดแบคทีเรียไม่แตกต่างกับการแปรงฟันด้วยยาสีฟันอะไรก็ได้อย่างถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันในซอกฟันส่วนที่แปรงไปไม่ถึง

กลิ่นปากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากชนิดที่ไม่ใช้ออกกซิเจนผลิตก๊าซในกลุ่มซัลเฟอร์ กลิ่นปากยังเกิดได้จากผู้ป่วยมีโรคอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว เช่นโรคกรดไหลย้อน หากรักษาโรคเหล่านั้นกลิ่นปากก็จะหายไป รวมทั้งกลิ่นปากจากโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทนต์ โรคเหงือก ฟันผุ ฯลฯ วิธีการตรวจว่ามีกลิ่นปากจริงหรือไม่นั้น ทำได้โดยการสังเกตจากคนรอบข้าง หรือเอาช้อนมาขูดลิ้นแล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 วินาที จากนั้นนำมาดม หากพบว่ามีกลิ่นเหม็นก็แนะนำให้มาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็กปัญหาในช่องปาก

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามกีฬา

Update 07-04-52

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *