เคล็ด (ไม่) ลับจับทางโลจิสติกส์

เคล็ด (ไม่) ลับจับทางโลจิสติกส์

 

อย่างที่ทราบกันว่า หากองค์กรใดจัดการระบบโลจิสติกส์ได้ดีจะช่วยลดต้นทุนและความ สูญเสียได้มหาศาล
ในหนังสือ เคล็ด (ไม่) ลับจับทางโลจิสติกส์ ซึ่งทำงานร่วมกันระหว่าง รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ กับกองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจ โดยมีธนาคารกสิกรไทยให้การสนับสนุนนั้น
นอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจระบบ โลจิสติกส์อย่างถูกต้องแล้ว ยังมีจุดเด่นอยู่ที่การถอดประสบการณ์ของ 11 องค์กรที่พลิกกลยุทธ์ทะลวงเป้าหมายโดยการใช้ โลจิสติกส์
โดยได้มีการแบ่งแยกเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน พร้อมกับนำเสนอเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัดประสิทธิภาพของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ส่วนที่ 2 เป็นการถอดประสบการณ์ของ 11 องค์กรธุรกิจ
บุญเลิศ ชดช้อย แห่ง ซี.ซี.ออโตพาร์ท บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยอมรับความจริงว่า
“ก่อนหน้านี้ผมไม่มีความเข้าใจเรื่อง โลจิสติกส์และซัพพลายเชน เข้าใจว่าเป็นเรื่องการบริการรถขนส่งจากโรงงานไปถึงจุดหมายปลายทาง แต่คนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง”
โลจิสติกส์และซัพพลายเชน เป็นเรื่องมวลรวมทั้งองค์กร การจัดสรร การบริหารจัดการทั้งองค์กรไปในแนวทางเดียวกัน
“สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรมาก เพราะสามารถที่จะทำวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ง่าย บางโรงงานผลิตอย่างไรก็ไม่สามารถส่งมอบได้ทัน เพราะไม่ได้จัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน”
รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ ชี้ว่า ในระบบโซ่อุปทานนั้นความไม่แน่นอนในกระบวนการควบคุมจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานมากที่สุด ซึ่งองค์กรควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการหรือรูปแบบในการสื่อสารองค์กร หากองค์กรยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ ย่อมส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในกระบวนการสื่อสาร
เช่นเดียวกับปัญหาการขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร การขาดการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของบริษัทเช่นกัน

ที่มา :www.matichon.co.th

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *