อาหารปลอดภัย โภชนาการที่ดีกว่าเดิม และเด็กสุขภาพดี


อาหารปลอดภัย โภชนาการที่ดีกว่าเดิม และเด็กสุขภาพดี
• อาหาร
ใช้สีแดง เหลือง เขียว ระบุปริมาณเปรียบเทียบของแคลอรี่

อาหารที่ปลอดภัย โภชนาการที่ดีกว่าเดิม และเด็กสุขภาพดี – เป็นหัวข้อเนื้อหาหลักของการสัมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพของเด็กที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชีย (AFIC) ได้จัดขึ้นที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551

การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของลักษณะการดำเนินชีวิตทั่วทั้งทวีปเอเชียซึ่งรวมถึงการลดลงของการทำกิจกรรมทางด้านร่างกายและการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น, มีความหมายว่า ความท้าทายทางด้านสุขภาพที่เด็กๆและพ่อแม่ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก ในประเทศต่างๆของเอเชียกำลังเผชิญอยู่นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาคใกล้เคียงซึ่งรวมถึงผู้เข้าร่วมสัมนาจากองค์การอนามัยโลก (WHO), ผู้ควบคุมดูแลภาครัฐ, นักวิทยาศาสตร์,ตัวแทนจากสื่อสารมวลชนและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารได้พบปะกันเพื่อแสดงความคิดเห็นประเด็นด้านโภชนาการที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อเด็กเอเชียในวันนี้และหนทางที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการปัญหาเหล่านี้

จากนิวเดลีถึงปักกิ่ง, กรุงเทพฯถึงโซล, ประเด็นซึ่งกำลังเผชิญหน้าอยู่ล้วนคล้ายคลึงกัน เด็กๆในชุมชนเมืองของเอเชียมีแนวโน้มอ้วนขึ้นและแข็งแรงน้อยลง อย่างไรก็ตามในหลายเมืองใหญ่ แม้แคลอรี่ที่รับประทานเข้าไปจะมีปริมาณเหมาะสมหรือมากเกินความจำเป็น บ่อยครั้งที่สารอาหารที่ได้รับกลับไม่สมดุล ศาสตราจารย์ หยาง ยู่ ซิน ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการและอาหารปลอดภัยแห่งชาติ ประเทศจีน, กล่าวว่า ผลสำรวจโภชนาการแห่งชาติ ประเทศจีนได้แสดงผลว่าเด็กๆได้รับแคลเซียม, สังกะสี, วิตามินเอ, บี 2 และ ซี ในปริมาณที่ต่ำ ถึงแม้จะมีเพียงพอสำหรับรับประทาน ความพยายามในการจัดการเรื่องน้ำหนักเกินในเด็กของภูมิภาคนี้ต้องการความมั่นใจว่าสารอาหารรองที่ได้รับนั้นต้องเพียงพอ, ศาสตราจารย์หยางกล่าว

ดร.คูแนล บัคชี, ที่ปรึกษาด้านโภชนาการส่วนภูมิภาคแห่งองค์การอนามัยโลก, สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกรุงนิว เดลี, ประเทศอินเดีย กล่าวว่า หนึ่งในประเด็นสำคัญคืออัตราการรับประทานอาหารนอกบ้านสูง ในวันนี้ ลักษณะการดำเนินชีวิตในภูมิภาคได้รับผลจากอัตรามารดาทำงานนอกบ้านที่สูงและสามารถจัดสรรเวลาได้น้อยลงสำหรับการเตรียมมื้ออาหารและช่วงเวลาอาหารของครอบครัว การรับประทานอาหารนอกบ้านเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆและทางเลือกอาหารที่เด็กได้รับอาจจะไม่ดีที่สุดเสมอไป

สิ่งนี้ได้รับการยืนยันจากการศึกษาของ AFIC เมื่อเร็วๆนี้ที่ทำการศึกษาจากกลุ่มผู้มีอายุระหว่าง 13-49 ปี ซึ่งพบว่าประชาชนในกรุงเทพฯรับประทานอาหารนอกบ้านโดยเฉลี่ย 21 ครั้งต่อเดือน ซึ่งมากที่สุดคือศูนย์อาหาร และในเซี่ยงไฮ้ พบอัตราการรับประทานอาหารนอกบ้านนั้นต่ำกว่ากรุงเทพฯ แต่ยังคงมีนัยสำคัญอยู่ที่ 12 ครั้งต่อเดือน เฮเลน ยู กรรมการผู้จัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชีย (AFIC) กล่าวว่า ผู้บริโภคต้องการข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับทางเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ “ผลการสำรวจแสดงว่าประชาชนต้องการข้อมูลด้านโภชนาการเพิ่มเติม ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ที่อาศัยในกรุงเทพฯกล่าวว่า พวกเขา(หรือครอบครัว) มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงอาหารหากมีข้อมูลมากกว่าที่เป็นอยู่” เฮเลน ยู กล่าว

งานวิจัยจากศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชีย (AFIC), ซึ่งได้จัดทำขึ้นในกรุงเทพฯและเซี่ยงไฮ้ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2550 ได้มองถึงปัจจัยหลักที่มีผลต่อทางเลือกอาหาร และพบว่ารสชาติเป็นลำดับต้นๆที่ประชาชนมองเมื่อมีการเลือกอาหาร ลำดับต่อๆมาคือโภชนาการและรวมถึงข้อมูลบนฉลากอาหาร การวิจัยได้มุ่งประเมินความพึงพอใจต่อฉลากอาหารในหลายๆรูปแบบและพบว่า ไม่ว่าฉลากอาหารจะปรากฎอยู่ในรูปแบบใด ความเข้าใจของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากอาหารนั้น มีอยู่ในระดับต่ำ

การศึกษาได้ทำการทดสอบฉลาก 3 ประเภท – “แบบสัญญาณไฟจราจร” (Traffic Light Labels) ซึ่งใช้สีแดง, สีเหลือง และสีเขียวในการระบุปริมาณเปรียบเทียบของแคลอรี่, ไขมัน, น้ำตาล และเกลือ; แบบคำแนะนำจำนวนหน่วยบริโภคต่อวัน (Guideline Daily Amount-GDA) ซึ่งจะแสดงข้อมูลปริมาณแคลอรี่, ไขมัน, น้ำตาล และเกลือ และสัดส่วนของส่วนประกอบเหล่านี้เป็นหน่วยบริโภคของอาหารเปรียบเทียบกับปริมาณที่แนะนำต่อวันและท้ายสุดคือ ฉลากซึ่งเพียงแสดงข้อมูลแคลอรี่เป็นหน่วยบริโภคและจำนวนรวมแคลอรี่ต่อวันที่ร่างกายต้องการ

สิ่งที่ค้นพบได้แสดงผลว่า ในขณะที่ประชาชนส่วนมากสามารถบอกจำนวนแคลอรี่ในอาหารที่แสดงบนฉลาก พวกเขากลับไม่เข้าใจรหัสสีในฉลากแบบสัญญาณไฟจราจร และส่วนมากไม่ทราบปริมาณแคลอรี่ที่พวกเขาต้องการต่อวัน หรือระดับแคลอรี่ของอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคกันปกติ ระดับความรู้และความเข้าใจต่ำในเรื่องนี้ต่ำลงอีกในประชาชนกลุ่มวัยหนุ่มสาวและผู้ที่มีการศึกษาน้อย

กลุ่มเด็กและวัยรุ่นเป็นจุดศูนย์กลางที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากหน่วยงานทางด้านสุขภาพในความพยายามที่จะลดความเสี่ยงอันเพิ่มขึ้นจากโรคอ้วน ซึ่งขณะนี้พวกเขาเป็นกลุ่มที่เป็นไปได้มากว่าไม่อ่านฉลากอาหารและแสดงออกว่ามีความสนใจน้อยในการขอรับข้อมูลด้านทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดี “แผนการต่างๆที่ให้การศึกษาแก่เด็กและวัยรุ่นในเรื่องการรักษาน้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพนั้นต้องมีการวางแผนอย่างระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่ามีเป้าหมายและมีประสิทธิผล” เฮเลน ยู กล่าว

“มีมื้ออาหารหลักหลายๆมื้อที่ประชาชนต้องออกไปรับประทานกันนอกบ้าน ดังนั้นการให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแคลอรี่ในตัวเลือกอาหารที่ได้รับความนิยม อาจเป็นก้าวแรกที่ดีในการช่วยประชาชนให้ได้รับตัวเลือกที่ดีขึ้น” ในประเทศสิงคโปร์, รัฐบาลได้ให้ข้อมูลโภชนาการในเรื่องของร้านอาหารริมทางมาเป็นเวลาหลายปี ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นความจริงที่ทราบกันว่าอัตราส่วนร้อยละของแคลอรี่ต่อวันที่ประชาชนได้รับจากอาหารเหล่านี้มีความสำคัญ

การศึกษาเรื่องสมดุลพลังงานยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากการศึกษาแสดงว่ามีหลายคนที่ยังสับสนในเรื่องแคลอรี่และปริมาณเปรียบเทียบที่พวกเขาต้องการในแต่ละวันจากอาหารที่รับประทานกันอยู่ปกติ

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชีย (AFIC)


Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *