อาการแบบไหน เรียก “ไมเกรน”

อาการแบบไหน เรียก “ไมเกรน”
• คุณภาพชีวิต
ปวดขมับ-ตาพร่า-คลื่นไส้ กลุ่มเสี่ยงโรค!

‘ไมเกรน’ เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 22 – 55 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสเป้นมากว่าผู้ชาย 3 เท่า ประมาณ 70 – 80% ของผู้ป่วยไมเกรนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยไมเกรนมักจะมีอาการ ดังนี้

– ปวดตุบๆ ที่ขมับหรือเบ้าตาซีกใดซีกหนึ่งตามจังหวะการเต้นของหัวใจ แต่บางครั้งก็อาจปวดแบบตื้อๆ ก็ได้ อาจปวดสลับข้างในแต่ละครั้งหรือปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง มักปวดนานเป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ

– ก่อนปวดหรือขณะปวดอาจมีอาการตาพร่าตาลาย เห็นแสงว็อบแว็บหรือตามืดมัวไปครึ่งซีก

– ถ้าปวดรุนแรงก็อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวมีลักษณะอย่างไร…

ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และพบบ่อยหลังมีความเครียด ความกังวลการใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีความแปรปรวนของอารมณ์ โดยมักจะแสดงอาการ ดังนี้

– ปวดเหมือนถูกคีมหนีบหรือถูกผ้ารัดไว้แน่นๆ

– มีลักษณะปวดตื้อๆ หนักๆ บางคนอาจปวดจี๊ดบริเวณต้นคอ ท้ายทอย ดวงตาหรือขมับ บางรายอาจปวดตื้อไปทั่วศีรษะ

– มักจะปวดตอนบ่ายๆ หรือเย็นๆ เวลาหายก็มักจะหายไม่สนิทจะรู้สึกตื้อๆ ที่ศีรษะอยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งต่างจากไมเกรนที่ปวดรุนแรงแต่บทจะหายก็จะไม่เหลืออาการปวด

คลัสเตอร์…อาการปวดศีรษะที่รุนแรงที่สุด

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ หรือที่เรียกว่า ปวดศีรษะแทบอยากฆ่าตัวตายนั้น มักจะพบในผู้ชายโดยมีอาการดังนี้

– ปวดตุบๆ บริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง

– รู้สึกร้อนแปล๊บที่หน้าผากเหมือนมีมีดร้อนๆ มาทิ่ม

– คัดจมูก ตาข้างที่ปวดจะแดงและน้ำตาไหล

– มักจะปวดตอนกลางคืนและปวดตรงเวลาทุกวัน อาจนานเป็น 10 – 20 นาทีหรือเป็นชั่วโมง บางรายอาจปวดเรื้อรังเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน

– เวลาปวดจะมีอาการรุนแรงจนอยู่เฉยไม่ได้ต้องเดินไปมา ซึ่งต่างกับไมเกรนที่เวลาปวดมักอยากนอนเฉยๆ

ใครบ้าง…มีโอกาสปวดศีรษะแบบผสม

ปวดศีรษะแบบผสม คือ มีทั้งอาการไมเกรนและอาการปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว หรืออาการปวดศีรษะแบบอื่นๆ ร่วมกันในเวลาเดียวกัน สาเหตุของการปวดศีรษะแบบผสมที่พบบ่อยที่สุด คือ การใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำหรือเกินขนาด ผู้ป่วยมีประวัติไมเกรนหรือปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว หากกินยาแก้ปวดเป็นประจำจะพัฒนาเป็นการปวดศีรษะแบบผสมเมื่ออายุ 30 – 40 ปี

สาเหตุปวดศีรษะเรื้อรังในทัศนะการแพทย์จีน…

– ภาวะหยางในตับมากเกินไปจนลอยขึ้นไปปะทะที่ศีรษะ

ในตับและไตมีทั้งหยิน (ความเย็น) และหยาง (ความร้อน) ไตต้องส่งหยินไปหล่อเลี้ยงตับเพื่อไม่ได้ตับรุ่มร้อนเกินไป แต่เมื่อไตอ่อนแอก็ไม่สามารถส่งหยินไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ทำให้หยางในตับมีมากเกินไป จนดันความรัอนลอยขึ้นไปปะทะที่ศีรษะ

ภาวะเช่นนี้จะก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง หูอื้อ ตาลาย หน้าแดง ปากขม อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ขี้หลงขี้ลืม อุจจาระแข็งหรือท้องผูก ลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นเหลือง แขนขาเหน็บชา ลิ้นแข็ง พูดอ้อแอ้ ฯลฯ

อาการปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูงก็เกิดจากภาวะนี้เช่นนี้ นอกจากนี้ อารมณ์ที่ตึงเครียด ตื่นเต้นหรือคิดมากเป็นประจำ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหรือเพิ่มความรุนแรงของภาวะนี้ได้เช่นเดียวกัน

– ภาวะติดขัดของเส้นลมปราณหล่อเลี้ยงศีรษะ

เส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงศีรษะมีอยู่หลายเส้นด้วยกัน เช่น เส้าหยาง หยางหมิน ไท่หย่าง เป็นต้น เมื่อเส้นลมปราณเหล่านี้ไม่โล่งมีการติดขัดก็จะเกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด ส่วนจะปวดที่ตำแหน่งใดของศีรษะหรือมีลักษณะการปวดเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับเส้นลมปราณใดมีการติดขัด อาทิ
– หากเส้นลมปราณเส้าหยาง มีการติดขัด ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน

– หากเส้นลมปราณหยางหมิน มีการติดขัด ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

– หากเส้นลมปราณไท่หยาง มีการติดขัด ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว

– หากเส้นลมปราณเจี๋ยยินหรือตูม่าย มีอาการติดขัด ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณกลางศีรษะ

– หากเส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงศีรษะติดขัดพร้อมกันหลายเส้น ก็จะเกิดอาการปวดศีรษะในหลายๆ รูปแบบร่วมกัน

วิธีการรักษาแบบองค์รวมของการแพทย์จีน…

ปวดศีรษะเรื้อรังใช่ว่าแค่มีอาการปวดที่ศีรษะเท่านั้น หากแต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเสื่อมโทรมของร่างกาย ดังนั้น การแพทย์จีนจึงไม่ได้หยุดอยู่แต่แก้ปวดเป็นครั้งคราวเท่านั้น แต่ยังเน้นความสำคัญในการขจัดต้นเหตุของปวดศีรษะเรื้อรังให้หมดสิ้นได้ โดยใช้วิธีดังนี้

– ทะลวงเส้นลมปราณเส้าหยาง หย่างหมิน ไท่หยาง เจี๋ยยินหรือตูม่าย ซึ่งเป็นเส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงศีรษะให้โล่งสะอดา เพื่อบรรเท่าต้นเหตุสำคัญของอาการปวดศีรษะเรื้อรังได้

– บำรุงรักษาไตเพื่อให้หยิน – หยางในไตเกิดความสมดุล ไตจึงสามารถส่งหยินในไตไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ เพื่อขจัดปัญหาภาวะหยางในตับมากไป

เมื่อตับไตอยู่ในภาวะสมดุลและเส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงศีรษะปราสจากการติดขัดหรือมีการติดขัดน้อยลงแล้ว ไม่ว่าคุณจะปวดศีรษะแบบใดและเรื้อรังมานานขนาดไหนก็ตาม ก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจมีโอกาสหายไปในที่สุด

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *