สภาพอากาศกับการออกกำลังกาย
สภาพอากาศกับการออกกำลังกาย
• คุณภาพชีวิต
มีผลต่อสุขภาพกาย หัวใจ กล้ามเนื้อ
การวิ่งกับการกระโดดเชือกวิธีใดให้ประโยชน์มากกว่ากัน?
การวิ่งมีผลดีต่อสุขภาพกาย หัวใจ กล้ามเนื้อแข็งแรง, ลดความเครียด และยังสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ การวิ่งสามารถทำได้คนเดียว ทำให้ทุกแห่งแต่จะต้องมีการฝึกฝน ขณะที่การกระโดดเชือกเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ที่เล่นง่าย ไม่ใช้อุปกรณ์มาก ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หากปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย
โดยเฉพาะสมรรถภาพทางด้านระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ เป็นการฝึกการประสานงานร่วมกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้งขาและแขนอย่างเห็นผลชัดเจน และปัจจุบันการกระโดดเชือกได้พัฒนาเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบการเล่นหลากหลาย มีวิธีการเล่น ทักษะ เทคนิค กติกามากมาย มีท่ากระโดดที่พลิกแพลงซับซ้อน มีสีสันของความสวยงาม น่าตื่นตาตื่นใจสนุกสนานเช่นกัน ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญการออกกำลังกายได้บอกไว้ว่า การออกกำลังกายโดยการกระโดดเชือกติดต่อกัน 15 นาที จะมีผลเสมือนหนึ่งการออกกำลังกายโดยการวิ่งจ๊อกกิ้งถึง 30 นาที ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยการ วิ่งหรือกระโดดเชือกล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตาม ในการออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าและผู้สูงอายุ เพราะมีแรงกระแทกระหว่างหัวเข่าเมื่อเท้าสัมผัสกับพื้นมาก ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระแทกได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือก
ในสภาพอากาศร้อน ควรออกกำลังกายอย่างไร?
ข้อควรระวัง ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการทำงานของร่างกาย รวมถึงสมองซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้วิธีปฏิบัติ
1. หากไม่คุ้นเคยกับการออกกำลังกายในอากาศร้อนมาก่อนควรเริ่มออกกำลังกายเบาๆ และช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้วจึงค่อยเพิ่มระยะเวลาและความหนักโดยจับชีพจรขณะออกกำลังกาย หากสูงเกินระดับที่กำหนดก็ควรลดความหนักของการออกกำลังกายลงมา
2. เนื่องจากความสามารถในการะระเหยของเหงื่อและการระบายความร้อนออกจากร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในร่างกาย จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนออกกำลังกาย และขณะออกกำลังกายแม้จะไม่กระหายน้ำก็ควรจิบน้ำเป็นระยะๆ (แต่ไม่ควรดื่มมากเกินไปจนอาจทำให้ระดับเกลือโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ) หากร่างกายมีการเสียเหงื่อมากอาจมีการสูญเสียโซเดียมจำนวนมากไปกับเหงื่อกรณีนี้ควรดื่มน้ำที่มีเกลือโซเดียม หรือ Sport drinks (เครื่องดื่มชูกำลัง)
3. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้ร่างกายขับน้ำออกไปมาก
4. สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม อาจใช้น้ำราดศีรษะเป็นระยะออกกำลังกาย
5. หากออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในตอนกลางวัน ช่วงเวลาที่เหมาะอาจเป็นตอนเข้าหรือตอนเย็น เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นว่า และควรออกกำลังกายใต้บริเวณที่มีร่มเงา หรือเปลี่ยนเป็นออกกำลังกายในสระว่ายน้ำ
6. ควรหยุดพักเป็นระยะ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
7. ควรมีบุคคลอื่นร่วมออกกำลังกายด้วย เพื่อช่วยสังเกตและช่วยเหลือหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับคนในกลุ่ม
8. สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายเบื้องต้นที่เกิดจากความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ได้แก่ กล้ามเนื้อ เป็นตะคริว คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ทรงตัวไม่ดี ควรหยุดออกกำลังกาย และดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือโซเดียม หากมีอาการผิดปกติรุนแรงเกิดขึ้นได้แก่ หนาวสั่น เคลื่อนไหวช้าลง อัตราการขับเหงื่อลดลง ผิวหนังแห้ง หรือรุนแรงมากจนทำให้ไม่ค่อยรู้สึกตัว สับสน ชัก ซึ่งเป็นอาการของ ลมแดด (Heat stoke) ควรให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนโดยทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงในทันทีแล้วส่งไปพบแพทย์
9. ไม่ควรออกกำลังกายหนักหากมีอาการไม่สบายกายอยู่ก่อน เช่น มีไข้ ท้องเสีย หรือเหนื่อยล้า เพราะความต้านทานของร่างกายต่อความร้อนต่ำลง เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของร่างกายจากความร้อน
10. หาสถานที่ออกกำลังกายในร่ม เช่น โรงยิม ภายในบ้าน หรืออาคารที่ติดตั้งเครื่องทำ
สสส.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามกีฬา