ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (1)

ลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต (1)
บทนำ
ตาม Berne Convention ซึ่งเป็น อนุสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ที่สำคัญที่สุด ได้ให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ครอบคลุมทั้ง วรรณกรรม และงานศิลป์ รวมทั้งรูปแบบของงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่พบบนอินเทอร์เน็ต เช่น งานเขียน ข้อความทางวิทยาศาสตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานดนตรี งานศิลปะ ภาพวาด ภาพเขียน สิทธิ์ดังกล่าวยังคุ้มครองถึงงานที่มีผู้อื่นได้เพิ่มคุณค่าในการแสดงงานวรรณกรรมและศิลปะสู่สาธารณชน เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี เป็นต้น ลิขสิทธิ์ประกอบด้วย สิทธิ์ของการผลิตซ้ำ และ การเผยแพร่ต่อสาธารณชน
การพัฒนาของอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดคำถามว่าสิทธิ์เหล่านี้จะปรับปรุงอย่างไรให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เช่น การทำซ้ำนั้นเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้ได้ตรวจสอบเนื้อหาหรือแยกข้อมูลการฟังบนอินเตอร์เน็ตหรือไม่? การส่งข้อมูลงานอันมีลิขสิทธิ์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นการเผยแพร่หรือไม่? การเผยแพร่ควรเกิดขึ้นเพียงแค่ผู้ใช้ได้รับการเข้าสู่เนื้อหาหรือไม่? MIDIที่ยินยอมให้มีการเพิ่มการสร้างสรรค์หรือการแสดงออกของเนื้อหานั้นทำให้เกิดสิทธิในการดัดแปลงงานหรือไม่? ถ้ามีผู้ใดส่งE-mail พร้อมกับเนื้อหาที่ละเมิดมาด้วยจะเป็นการทำซ้ำเผยแพร่หรือไม่? คำตอบนั้นมีส่วนสำคัญเพราะเป็นการกำหนดว่าใครมีสิทธิในการฟ้องร้องในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธ์และเรียกค่าเสียหาย บางบริษัทมีสิทธิในการเผยแพร่โดยเฉพาะ ถ้าการส่งE-mailคือการเผยแพร่ บริษัทเหล่านัน้ก้มีสิทธิฟ้องคดีได้
ซึ่งคำถามดังกล่าวเกี่ยวข้องกับวิถีทางในการปรับปรุงแนวความคิดของลิขสิทธิ์ของกฏหมายเก่าเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ นักกฎหมายผู้ซึ่งเข้าใจหลักของกฎหมายลิขสิทธิ์จะไม่พบว่าคำถามเหล่านี้ยากที่จะตอบ แต่นักกฎหมายที่ได้รับการฝึกเพื่อประยุกต์วาง(กำหนด)กฎที่ชัดเจนเพื่อจะให้ได้ข้อเท็จจริงโดยปราศจากการให้เหตุผลของกฎเหล่านั้นจะพบว่าคำถามเหล่านั้นไม่สามารถที่จะตอบได้ อย่างไรก็ตาม อินเทอร์เน็ตจะตั้งคำถามและสร้างความท้าทายให้แก่กฎหมายเก่ามากกว่า ความยากลำบากที่จะปรับปรุงแนวคิดเก่าให้เข้ากับ สภาพจริงในปัจจุบัน

สนธิสัญญาอินเทอร์เน็ต
การปรับปรุงที่สำคัญของกฎหมายลิขสิทธิ์ในยุคของอินเทอร์เน็ตถูกส่งผลให้สองสนธิสัญญา ถูกปรับปรุง ซึ่งได้แก่ WCT และ WPPT
ข้อสัญญาที่สำคัญที่สุดของไม่ได้อยู่ในข้อความหลักของสนธิสัญญา แต่อยู่ในข้อความข้อตกลงที่อยู่ในบทความของ WCT และข้อตกลงที่อยู่ในบทความของ WPPT ซึ่งมีเนื้อความที่เหมือนกันคือ การเก็บงานที่มีความคุ้มครองที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลเท่ากับเป็นการผลิตซ้ำ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าการเก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์โดยปราศจากการได้รับสิทธิ์โดยชอบธรรมจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การผลิตซ้ำนั้นถูกระบุไว้ว่า “การทำการผลิตงานซ้ำแม้แต่อันเดียวก็ถือว่าเป็นการผลิตซ้ำ” การทำการคัดลอกข้อมูลใดๆ ในรูปแบบดิจิตอลตกอยู่ภายใต้ขอบเขตของธรรมเนียมปฏิบัติทางกฎหมายลิขสิทธิ์ อยู่แล้ว
สนธิสัญญาประกอบไปด้วยข้อสัญญา anti-circumvention ข้อสัญญานี้ทำให้แน่ใจได้ว่าอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของงานที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจะไม่ถูกคัดลอกข้อมูลจากอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่ต่างกันได้ ระบบเทคโนโลยีที่นำมาใช้ป้องกันการคัดลอกข้อมูลที่ไม่ได้รับสิทธิ์อันชอบธรรม เช่นพวก anti-copy devices , access control , การเข้ารหัส(encryption) , การใช้ password , การลงลายน้ำ , การลงลายนิ้วมือ ฯลฯ โดยอุตสาหกรรมทางดนตรีได้พัฒนาเทคโนโลยีในการป้องกันการเล่นแผ่นCDในคอมพิวเตอร์
นอกจากนั้น สนธิสัญญายังคุ้มครอง สิทธิ์ในการจัดการข้อมูล ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะของงาน , ผู้มีสิทธิ์ใช้งาน , เจ้าของผู้มีสิทธิ์ในงาน ซึ่งจะถูกเพิ่มไปยังสำเนาของงานนั้น หรือปรากฎเมื่อมีการนำงานนั้นไปใช้สู่สาธารณชน
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนสนธิสัญญาอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่แล้วมาจากประเทศที่ร่ำรวย ในทางเป็นจริงมีประเทศที่กำลังพัฒนาไม่มากนักที่ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญานี้ ซึ่งเป็นผลมาจากรากฐานที่ขัดแย้งกันในเรื่องความเข้าใจที่แตกต่างกันในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรก็ตาม ประเทศส่วนใหญ่ก็ต้องยอมจำนนที่ต้องถูกบีบบังคับให้รับเอาข้อตกลงในสนธิสัญญาดังกล่าวไปไว้ในกฎหมายภายใน แต่ก็มีข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบังคับใช้อยู่มาก ผู้เขียนสนธิสัญญามอบความใว้วางใจในเทคโนโลยีในการบังคับใช้กับลิขสิทธิ์ในอินเทอร์เน็ต แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการทำให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ตสำหรับประชากรทั่วโลกก็คือ ปราศจากการเอาใจใส่เท่าที่ควร
สนธิสัญญานี้ถูกนำไปทำให้เป็นผลในยุโรปโดยผ่าน EU Copyright Directive อเมริกาเป็นประเทศแรกที่นำข้อสัญญาของสนธิสัญญาอินเทอร์เน็ต ไปทำให้เป็นผลโดยออกพระราชบัญญัติ DMCA โดย DMCA ปฏิบัติตามสนธิสัญญาอินเทอร์เน็ต ในการทำผิดกฎหมาย โดยหลีกเลี่ยงเกณฑ์การคุ้มครองลิขสิทธิ์ดิจิตอล ส่วนหนึ่งคือการออกกฏข้อบังคับที่ให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องรับผิดชอบในการละเมิดลิขสิทธิ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ISPs (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต)คือ ISPs ให้บริการในฐานะที่เป็นผู้ผ่านการสื่อสารระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่สามารถส่งสำเนางานที่ได้รับความคุ้มครองอย่างผิดกฎหมาย โดยมีประเด็นว่า ISPsทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์โดยการเชื่อมโยงผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปยังเวบไซต์ที่มีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ กฎหมายของ US ได้กำหนดความชัดเจนขึ้นโดยที่ ISP จะรับผิดต่อการละเมิดสิทธิ์ก็ต่อเมื่อ ISP รู้ตัวว่าวัตถุที่อยู่บนเว็บไซต์ที่ติดต่อนั้นเป็นการละเมิดสิทธิ์ของบุคคลใดคนหนึ่ง(คือรู้ว่ามีสิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่แล้วแต่ก็ยังลิงก์ไปยังเว็บนั้นอยู่)
นอกเหนือจากนั้น ISPs ยังสามารถสร้างสำเนาเป็นการชั่วคราวเพื่อใช้ในการขนส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่ง DMCA จะยกเว้นสำหรับการละเมิดในการทำสำเนาชั่วคราวในการติดต่อสื่อสารเพื่อใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ ก็ต่อเมื่อสำเนาที่ถูกทำขึ้นเหล่านี้ถูกทำลายหลังจากการใช้งานเสร็จสิ้น

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *