สุขภาพ : มารู้จักโรคกระดูกพรุนกันเถอะ

สุขภาพ : มารู้จักโรคกระดูกพรุนกันเถอะ

โรคกระดูกพรุน หรือ Osteoporosis โรคกระดูกพรุน เป็นโรคของผู้สูงอายุ โดยปกติร่างกายจะมีกระบวนสร้างและสลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุ 40 ปีขึ้นไป กระบวนสร้างจะไม่สามารถไล่ทันกระบวนสลายได้ นอกจากนั้น การดูดซึมของทางเดินอาหารจะเสื่อมลง ทำให้ร่างกายต้องดึงสารแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ผลคือ ร่างกายต้องสูญเสียปริมาณเนื้อกระดูกมากขึ้น และเมื่อความแข็งแรงของกระดูกเสียไป จะส่งผลให้คนๆ นั้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักสูงขึ้น

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

• หญิงวัยหมดประจำเดือน การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น
• หญิงที่มีประจำเดือนหมดเร็ว หรือ หญิงที่ตัดรังไข่
• ทางกรรมพันธุ์ จากมารดาสู่บุตร
• ชาวเอเชีย และคนผิวขาว มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนยุโรป และคนผิวดำ
• ผู้ที่มีรูปรูปร่างเล็ก ผอมบาง น้ำหนักตัวน้อย
• รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
• ออกกำลังน้อยไป
• สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ
• การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์
• เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต
• รับประทานอาหารจำพวกโปรตีน และอาหารมีกากมากเกินไป ตลอดจนอาหารเค็มจัด

จะทราบได้อย่างไรว่ากระดูกพรุนหรือไม่

สามารถใช้วิธีการถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อบอกความผิดปกติของความหนาแน่นของกระดูกได้ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องความหนาแน่นของกระดูกต้องลดลงมากกว่าร้อยละ 30 จึงจะแสดงผล ซึ่งเมื่อความหนาแน่นของกระดูกลดลงถึงระดับนี้แล้ว ผู้ป่วยจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักสูง

ในปัจจุบัน ได้มีเครื่องมือวัดความหนาแน่นของกระดูก Bone DEXA scan (Dual Energy X-ray Absorptiometry) เป็นเครื่องมือเอ็กซเรย์ระบบ 2 พลังงาน ที่ใช้ในการประเมินผลว่า ผู้มารับบริการมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด และยังช่วยในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและติดตามผลการรักษาอย่างเหมาะสม โดยทั่วไป แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจส่วนที่ต้องการตามรอยโรคของผู้ป่วย แต่หากต้องการตรวจเพื่อสุขภาพ จะแนะนำให้ตรวจ 2 บริเวณ คือ กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก

“โฮโมซีสทีน กับ โรคหัวใจและสมอง”

ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของประชากรโลก เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น ดังนั้น การที่เราจะมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้จึงถือเป็นความสำคัญมาก เมื่อเร็ว ๆ นี้ วงการแพทย์ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับปัจจัยเสี่ยงชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า “สารโฮโมซีสทีน” ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับสารตัวนี้กัน

สารโฮโมซิสทีน คืออะไร

สารโฮโมซิสทีน (Homocysteine) หรือบางท่านอาจเรียก โฮโมซีสเตอีน เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายของอาหารประเภทโปรตีน ปกติร่างกายจะพยายามขจัด “สารโฮโมซีสทีน” ให้เป็น “สารซีสทีน” แทน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดและร่างกายส่วนอื่น ๆ เพราะฉะนั้น เมื่อเราไม่รับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากจนเกินไป ระดับของโฮโมซีสทีนในเลือดก็จะไม่สูง หรือถ้าเราไม่มีปัญหาเนื่องมาจากพันธุกรรมของครอบครัว ไม่มีความผิดปกติในเรื่องของการขาดวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามิน บี6 บี12 และกรดโฟลิก รวมถึงการที่เราไม่ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟมากไป ก็จะไม่ทำให้เกิดสารโฮโมซิสทีนในเลือดสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเราจะไม่รู้ระดับของโฮโมซีสทีนในเลือด จนกว่าจะตรวจเลือดออกมาดูว่ามีค่าสูงหรือไม่

อันตรายอย่างไร ถ้ามีสารโฮโมซีสทีนในเลือดสูง

เราสามารถกล่าวได้ว่า สารโฮโมนซีสทีนไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเลย ถ้ามีสูงขึ้นเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็นก็จะทำลายหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง โดยจะมีผลทำให้หลอดเลือดที่กล่าวถึงมีโอกาสตีบและอุดตันได้ง่ายกว่าที่ระดับของโฮโมนซีสทีนในเลือดปกติ เช่น กรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน โอกาสที่หลอดเลือดที่ผ่านคอไปเลี้ยงสมองอุดตันหรือตีบก็เกิดขึ้นได้ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง อาจสร้างปัญหาให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นส่วนๆ หากหลอดเลือดสมองตีบ เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง ประสาทในสมองก็ลีบฝ่อไปได้เช่นกัน ก่อให้เกิดปัญหาสมองฝ่อหรือโรคอัลไซเมอร์และปลายประสาทเสื่อม รวมถึงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาตได้

โฮโมซีสทีน กับ โคเลสเตอรอล อย่างไหนอันตรายกว่ากัน

พบว่าประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาล มีไขมันในเลือดปกติ, ความดันปกติ และไม่สูบบุหรี่ แสดงว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะต้องมีปัจจัยเสี่ยงชนิดอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการตรวจหา ซึ่งหนึ่งในปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ระดับของสารโฮโมซีสทีนที่สูงขึ้นด้วย

ลักษณะอาการผิดปกติเมื่อค่าของสารโฮโมซีสทีนสูงจะมีลักษณะอย่างไร

อาการจะมีลักษณะคล้ายกับอาการของภาวะไขมันในเลือดสูงเหมือนกัน อาจจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องของอาการเจ็บแน่นหน้าอก ในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมีอาการอัมพฤกษ์ – อัมพาตเกิดขึ้น ในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาของหลอดเลือดโดยทั่วไปในสมองอุดตัน

วิธีการป้องกันไม่ให้สารโฮโมซีสทีนมีค่าสูงขึ้น

เนื่องจากสารโฮโมซีสทีนในเลือดเกิดจากการรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ต้องการให้เลือดเรามีระดับที่สูงกว่าความเป็นจริง เราก็ควรละลดอาหารโปรตีนลงมา แล้วก็ไปเพิ่มกลุ่มอาหารประเภทผักและผลไม้มากขึ้น พฤติกรรมการรับประทานแบบไทย ๆ ดีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ระดับโฮโมซีสทีนในเรื่องไม่สูงเกินไป และไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย และถ้าเราไม่แน่ใจว่ารับประทานอาหารกลุ่มต่าง ๆ ได้เพียงพอ แพทย์สามารถสั่งวิตามินที่มีความสำคัญในการลดระดับของโฮโมซีสทีนในเลือดลงมาได้รวมถึงกรดโฟลิก ก็จะทำให้ระดับโฮโมซีสทีนในเลือดเราไม่สูงเกินความเป็นจริงที่ควรจะเป็น อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้นกับผนังหลอดเลือด นอกจากนั้น การออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนดีขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่า สารโฮโมซีสทีนจะขับออกมาทางปัสสาวะ ก็คือ ทางไต เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระบบสูบฉีดโลหิตดี สารโฮโมซีสทีนก็จะถูกขับถ่ายออกทางไตได้ดีมาก และจะเผาผลาญไขมันส่วนอื่นออกไปด้วย

ที่มา: ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเวชธานี

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *