พอเพียง ตามรอยพระยุคลบาท

พอเพียง” ตามรอยพระยุคลบาท“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ “มีความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี พ
ระราชทานแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”แก่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ๔ ป. หลักในการครองงาน
โปร่งใส การปฏิบัติงานด้วยความสุจริต เที่ยงตรง พร้อมรับการตรวจสอบในทุกกระบวนการ มีความเข้มแข็งและสร้างเกราะกำบังให้ตนเองเพื่อยืนหยัดต่อสู้กับการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกกรณี
เป็นธรรม การปฏิบัติด้วยความเสมอภาค เพื่อสร้างความอบอุ่นใจและเป็นที่พึ่งให้แก่ประชาชน รวมถึงการหลีกเลี่ยงและต่อต้านสิ่งไม่ดีทั้งปวง เพื่อรักษาความชอบธรรมในสังคม
ประหยัด การใช้จ่ายอย่างพอดีตัว ไม่สร้างหนี้สินเกินความจำเป็น รู้จักอดออมและแบ่งปัน ไม่ทะเยอทะยานฟุ้งเฟ้อเกินตัว มีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่ดี ทั้งกับทรัพย์สินของทางราชการและทรัพย์สินส่วนตัว
ประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานที่คำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยมีประโยชน์สุขของประชาชนและการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนเป็นหลักชัย
๔ พ. หลักในการครองตน
พึ่งตนเอง การพึ่งตนเองด้วยสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ เพื่อนำพาให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิตและคลี่คลายจากปัญหาที่ประสบอยู่ การพึ่งตนเองของข้าราชการจำเป็นต้องมีความมั่นใจในความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ และศักยภาพของตนเพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติราชการให้ประสบผลสัมฤทธิ์ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
พอดี ความพอเหมาะพอควรและเป็นขั้นตอน ไม่ช้าไป ไม่เร็วไป ไม่ก้าวกระโดด ไม่ประมาท รู้จักเลือกสรรและใช้อย่างเหมาะสมระมัดระวังการปฏิบัติราชการจำเป็นต้องเข้าใจขอบเขตของเรื่องหรือกรอบของงานให้กระจ่างและลงมือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
พอเพียง ความสมเหตุสมผล โดยพิจารณาเหตุผลให้รอบคอบสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองอย่างมั่นคง ไม่ไขว้เขวไปกับสิ่งที่ยั่วยุมีความทะเยอทะยานในหน้าที่การงานและการดำรงชีวิตตามโอกาสและฐานะ แสวงหาความก้าวหน้าโดยไม่ทำผู้อื่นเดือดร้อนไม่แก่งแย่งแข่งขัน แต่เน้นการให้และแบ่งปัน เพื่อสร้างความสุขทางใจให้มากขึ้น
พอใจ ความพอใจและภูมิใจในสถานภาพและการดำรงชีวิตของตนด้วยการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและสง่างาม

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *