ธุรกิจบริการซัก อบ รีด

ธุรกิจบริการซัก อบ รีด

 

ลักษณะธุรกิจ

                ธุรกิจบริการซักอบรีด ในปัจจุบันมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพเวลาที่จำกัด ผู้ให้บริการจะมีทั้งประเภทร้านบริการซัก อบ รีด ซึ่งลูกค้าต้องนำเสื้อผ้ามาซักที่ร้านและประเภทบริการรับเสื้อผ้ามาซักและส่งเสื้อผ้าที่ซักแล้วถึงบ้านพักของลูกค้า ตลอดจนประเภทให้บริการเครื่องซักแบบหยอดเหรียญโดยการบริการตนเอง ซึ่งแต่ละประเภทจะมีค่าบริการที่แตกต่างกัน

 

วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ

 การจดทะเบียนพาณิชย์

              ประเภทบุคคลธรรมดา

มีลักษณะเป็นกิจการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ

ประเภทไม่จดทะเบียน

ผู้ประกอบธุรกิจบริการซัก อบ รีด ประเภทบุคคลธรรมดา ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

                                ประเภทนิติบุคคล  บริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 

                                ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

               

สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน

 รุงเทพฯ  ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 – 7  และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง  สำนักทะเบียนธุรกิจ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์

ต่างจังหวัด  ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด  ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่

ค่าธรรมเนียม

                                จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

                – ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินสามคน                                                                          1,000  บาท

                –  ผู้เป็นหุ้นส่วนเกินสามคน  ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนในที่เกินอีก  คนละ 200  บาท

                                                                                                                                                                                                                               

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด

–  จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ                                                         500 – 25,000  บาท

–  จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด                                                            5,000 – 250,000  บาท

 

ภาษีเงินได้

บุคคลธรรมดา

                                                ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ

  • ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี   เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปี (ภ.ง.ด.90 และ 94)
  • หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30

นิติบุคคล

ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ

  • ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี และ ครึ่งปี (ภ.ง.ด.50 และ 51)
  • หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30

 

ภาษีป้าย

ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือแสดงป้ายใหม่ จะต้องชำระภาษีป้ายต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 15 วัน และจะต้องยื่นชำระภาษีป้ายทุกปีที่ยังติดตั้งป้าย

สถานที่ขออนุญาต             

กรุงเทพฯ    ยื่นขอ ณ สำนักงานเขต ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่

ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ  สำนักงานเทศบาล หรือสุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล  ซึ่งดูแลพื้นที่ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่

                               

กฎหมายและระเบียบเฉพาะธุรกิจ 

  การปิดป้ายแสดงราคาค่าบริการ คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กระทรวงพาณิชย์  ได้ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจบริการซัก อบ รีด  ต้องปิดป้ายแสดงราคาค่าบริการให้เห็นชัดเจนในที่เปิดเผย ณ สถานที่ตั้ง  การฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000  บาท

                           นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงาน ที่ต้องถือปฏิบัติ

 

รายละเอียดการลงทุน

                                ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้น

                                จากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้นของผู้ประกอบธุรกิจ จำแนกดังนี้

  • ค่าตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน คิดเป็นร้อยละ 36
  • ค่ายานพาหนะและเครื่องมือสำหรับการให้บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ  32 ประกอบด้วย เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เตารีด และโต๊ะรีดผ้า
  • เงินทุนหมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ  32  ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเป็นค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ เช่น  เงินเดือน  ค่าเช่า  ค่าสาธารณูปโภค และวัสดุสิ้นเปลือง   เป็นต้น

                                                                               

                                อัตราผลตอบแทนทางการเงิน

                                อัตราผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจบริการซัก อบ รีด จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ทำเลที่ตั้งและความสามารถในการบริหารธุรกิจ จากการสำรวจ พบว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากรายได้ทั้งปี ประมาณ ร้อยละ 24   ส่วนผลตอบแทนที่ได้จากเงินลงทุนทั้งหมด  ประมาณร้อยละ 36 ต่อปี โดยจะได้รับเงินลงทุนทั้งหมดคืน ภายในระยะเวลาประมาณ 2 ปี

        

การตั้งราคาและโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม

                       ปัจจัยการตั้งราคา

                       ประกอบด้วย

  • ต้นทุน
  • ลักษณะรูปแบบการให้บริการ  
  • ทำเลที่ตั้ง   การตกแต่งร้าน สิ่งอำนวยความสะดวก
  • ค่าบริการของร้าน ซัก อบ รีดในย่านเดียวกัน

                                      โครงสร้างราคา

      คำนวณโดย ต้นทุนผันแปร  บวก ต้นทุนคงที่จัดสรร  บวก กำไรที่ต้องการ

  • ต้นทุนผันแปร   ประกอบด้วย  ผงซักฟอก  น้ำยา  ไม้แขวนเสื้อ ถุงพลาสติก   เป็นต้น
  • กด 2 ต้นทุนคงที่จัดสรร ประกอบด้วย  ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน ค่าบริการสาธารณูปโภค  ค่าเสื่อมราคาสิ่งปลูกสร้างและ เครื่องมืออุปกรณ์   เป็นต้น

                                                               

 

การบริหาร/การจัดการ

                       โครงสร้างองค์กร

                       ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก  ประกอบด้วยงานหลักดังนี้

1.     ด้านการบริหารงาน รับผิดชอบด้านการเงิน บัญชี การตลาด และบริหารงานทั่วไป

2.     ด้านบริการ ซัก อบ  รีด และรับส่งเสื้อผ้าที่ซัก

                พนักงานและการอบรมพนักงาน

                                                พนักงาน

–    ส่วนใหญ่จะมีการจ้างพนักงานประจำ มากกว่าการจ้างพนักงานรายวัน 

–    ไม่จำกัดเพศและวุฒิการศึกษาไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน

การอบรมพนักงาน

                                การฝึกฝนพนักงาน เน้นความละเอียดและปราณีต

               

วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรค

                       ข้อดีและข้อด้อย

                ข้อดี

  1. เป็นธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง
  2. เป็นธุรกิจที่ไม่มีความสลับซับซ้อน ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีความรู้สูง
  3. เป็นธุรกิจที่ผู้ใช้บริการมีความต้องการเพิ่มขึ้น

                ข้อด้อย

                1.  พนักงานหายาก เนื่องจากต้องการพนักงานที่เอาใจใส่ต่อคุณภาพงาน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ

               

 

 

 

                โอกาสและอุปสรรค

                โอกาส

  1. สภาพเวลาที่จำกัด เนื่องจากต้องออกไปทำงานนอกบ้านและใช้วันหยุดเพื่อการพักผ่อน
  2. การขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว ทำให้มีผู้ต้องการใช้บริการเพิ่มขึ้น ทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และ ชาวไทย

                อุปสรรค

  1. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้มีการประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น
    1. เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญ ทำให้มีผู้สนใจประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น  การแข่งขันสูง

 

ข้อเสนอแนะ

      ด้านการบริหารจัดการ

  1. ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในธุรกิจให้บริการของตนเองและติดตามความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
  2. ผู้ประกอบกิจการต้องมีความเป็นผู้นำและมีพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการ
  3. ส่งเสริมและให้โอกาสแก่พนักงานในการเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจในลักษณะการแบ่งปันผลประโยชน์จากรายได้ค่าบริการ
  4. ให้ความสำคัญกับการสรรหาและฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร
  5. ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงานทุกระดับ และมีระบบสิ่งจูงใจที่เหมาะสม
  6. 6.       สร้างความภาคภูมิใจแก่พนักงานในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
  7. 7.       ควรดำเนินการให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับภาครัฐ
  8. ควรจัดทำแผนธุรกิจ(Business Plan)เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมีทิศทาง
  9. เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการจะต้องให้ความสำคัญและให้เวลากับการบริหารธุรกิจอย่างใกล้ชิด

                ด้านการตลาด

                                                การบริการและสถานที่ให้บริการ

                                การบริการ

1.     ให้บริการที่ดีและเป็นกันเองกับผู้มาใช้บริการ

2.     สร้างตราหรือเครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ลูกค้าระลึกและจดจำได้ง่าย

3.     สร้างมาตรฐานด้านการให้บริการและอัตราค่าบริการ

                                                สถานที่ให้บริการ

1.     ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การให้บริการที่ทันสมัย ดูแลรักษาให้สะอาดและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2.     เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม สะดวกต่อการเดินทางมาติดต่อและอยู่ใกล้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

                                                การส่งเสริมการขาย

1.     ทำป้ายโฆษณาหน้าสถานที่ให้บริการให้สะดุดตาและสามารถสื่อความหมายที่ดีต่อกลุ่มลูกค้า  เป้าหมาย

2.     ทำโบชัวร์ แผ่นพับ และเอกสารอื่นๆเพื่อเผยแพร่และแนะนำบริการ เพื่อแจกจ่ายยังกลุ่มลูกค้า   เป้าหมาย

 

                ด้านบัญชีและการเงิน

  1. พยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายในลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายประจำมากเกินไป
  2. มีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม ไม่ก่อภาระหนี้มากเกินไป ทั้งในและนอกระบบ เนื่องจากจะมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยและผ่อนชำระคืนเงินกู้
  3. บริหารด้านการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง
  4. พยายามนำกำไรจากการดำเนินงานมาเป็นเงินทุนสำรองหรือใช้สำหรับการขยายธุรกิจ ไม่นำไปใช้ส่วนตัว หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ก่อรายได้ หรือในลักษณะเก็งกำไร
  5. ให้มีการแยกบัญชีและการเงินระหว่างของธุรกิจและส่วนตัวออกจากกัน
  6. ควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง ไม่ควรจัดทำงบ 2 ชุด เพื่อหวังผลในการหลีกเลี่ยงภาษี นอกจากจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังทำให้สูญเสียโอกาสในการขอรับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือการหาผู้ร่วมทุน
  7. นำระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีและอื่นๆมาช่วยในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน

                                                                               

ขอรายละเอียดข้อมูลผ่านเครื่องโทรสาร หรือติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ

โทร 0-2547-5954-5  โทรสาร 0-2547-5954

 

ตัวอย่าง  รายละเอียดเงินลงทุนของธุรกิจบริการซักอบรีด

รายการ                                    จำนวนเงิน(บาท)

ค่าตกแต่งอาคารสำนักงาน                     52,000

เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน            

   – โต๊ะ/เก้าอี้                                   4,600

   – ตู้เอกสาร/ตู้โชว์                              2,400

   – โทรทัศน์                                   4,200

   – เครื่องโทรศัพท์                              4,000

   – เครื่องคิดเลข                                   500

   – เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ                             2,900

              รวม                                 70,600

ค่าเครื่องมือสำหรับการให้บริการ               

   – เครื่องซักผ้า/เครื่องอบผ้า                   53,000

   – เตารีด                                      8,200

   – โต๊ะรีดผ้า                                   2,500

               รวม                                 63,700

   เงินทุนหมุนเวียน                            63,000

          รวมเงินลงทุนทั้งหมด                                 197,300

ที่มา  ประมาณการจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.

          2544-กันยายน พ.ศ.2544 และปรับรายการลงทุนซึ่งผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่ ไม่ได้ลงทุน  

           และมีความจำเป็นต่ำออก

 

 

 

ตัวอย่าง  รายละเอียดรายรับ – รายจ่าย ของธุรกิจบริการซักอบรีด

รายการ                                                  จำนวนเงิน(บาท)

รายได้                                                   420,480

รายจ่าย                                                 

   – เงินเดือนพนักงาน                                       80,400

   – ค่าเช่าสถานที่                                          45,000

   – ค่าเช่ายานพาหนะ                                         3,000

   – ค่าวัสดุสิ้นเปลือง                                        31,920

   – ค่าน้ำมัน                                               13,800

   – ค่าน้ำประปา                                           14,100

   – ค่าไฟฟ้า                                               21,900

   – ค่าโทรศัพท์                                               9,540

   – ค่าประกันภัย                                              2,120

   – ค่าภาษีต่างๆ                                               3,360

   – ค่าต่อทะเบียนรถยนต์                                         442

   – ค่าทำบัญชี                                                   600

   – ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                      28,800

   – ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย                         21,512

               รวม                                                                                            276,494

กำไรก่อนหักภาษีเงินได้                                                                        143,987

หัก ภาษีเงินได้(30%)                                                                               43,196

กำไร (ขาดทุน)สุทธิ                                                                                100,791

ที่มา  ค่าเฉลี่ยจากผลประกอบการปี พ.ศ.2544 ของผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย

          ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2544-กันยายน พ.ศ.2544

 

ตัวอย่าง การคำนวณราคา ผู้ประกอบกิจการร้านซักอบรีดแห่งหนึ่งลงทุนเช่าอาคารพาณิชย์  2 ชั้น 1 คูหา อายุสัญญาเช่า 1 ปี ค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท มีพนักงาน 3 คน และมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

1.     ต้นทุนคงที่

1.1  ต้นทุนคงที่ที่เป็นตัวเงิน (ต่อปี)

(1)      ค่าเช่า                                                                             =             60,000                    บาท

(2)     เงินเดือนพนักงาน                                                        =           216,000                    บาท

(3)      ค่าไฟฟ้า                                                                         =             24,000                    บาท

(4)     ค่าน้ำประปา                                                                  =             12,000                    บาท

(5)     ค่าโทรศัพท์                                                                   =               9,600                    บาท

                รวม                                                                         =              321,600                 บาท

1.2  ต้นทุนคงที่ที่ไม่เป็นตัวเงิน

(1)      ค่าตกแต่งภายใน 60,000 บาท

คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                          =             12,000                    บาท

                                (2)   ค่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน 10,000 บาท

                                       คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                           =              2,000                      บาท

(3)     ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ 80,000 บาท

คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                          =            16,000                     บาท

                                                รวมต้นทุนคงที่ที่ไม่เป็นตัวเงิน                           =             30,000                    บาท

                                                รวมต้นทุนคงที่ทั้งหมดต่อปี                                =           351,600                    บาท

 

2.     ประมาณการจำนวนลูกค้าที่คาดว่าจะเข้ามาใช้บริการ

(1)  ในเวลา 1 วัน สามารถให้บริการซัก อบ รีด ได้     =              600                         ชิ้น

(2)  ในเวลา 1 ปี (360 วัน) สามารถให้บริการ ซัก อบ รีด ได้สูงสุด= 360X600    =    216,000 ชิ้น

(3)  ประมาณการมีลูกค้ามาใช้บริการร้อยละ 60 หรือ  =              129,600                 ชิ้น

 

        3.    ต้นทุนคงที่จัดสรรต่อชิ้น                               =  351,600                             บาท

                                                                                        129,600

                                                                                                                                =        2.71                              บาท

4.    ต้นทุนผันแปร (ซัก อบ รีด)        

                        ค่าวัสดุสิ้นเปลืองต่อชิ้น                    =              7                              บาท

 

        5.    ต้นทุนทั้งหมดต่อราย          =   2.71  +  7                          =              9.71        บาท

 

        6.    ผู้ประกอบกิจการต้องตั้งอัตราค่าบริการโดยมีกำไรประมาณร้อยละ 20 ของต้นทุนทั้งหมด   =1.94บาท

                                                                                               

                                                ราคาให้บริการต่อราย             = 9.71 + 1.94        =          11.65         บาท

 

        7.    ผู้ประกอบกิจการตัดสินใจตั้งอัตราค่าบริการซัก อบ รีด             =           12              บาท/ชิ้น

 

                               

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *