ชีวประวัติ อาจารย์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ (5)

ชีวประวัติ อาจารย์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ (5)
สิงหาคม พ.ศ.2508 ดร.ป๋วยได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในคำประกาศเกียรติประวัติ มีข้อความตอนหนึ่งว่า “บุคคลสำคัญผู้แสดงบทบาทอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีเสถียรภาพการเงินควบคู่กันไป นายธนาคารระหว่างประเทศยกย่องว่า นายป๋วยเป็น ผู้ว่าการธนาคารกลางที่มีความสามารถดีเด่นคนหนึ่งของโลก … การกระทำของนายป๋วยยังเป็น แรงบันดาลใจ สำหรับข้าราชการผู้ขยันขันแข็ง นายป๋วยผู้ถือได้ว่า ความเรียบง่ายคือความงามและ ความชื่อสัตย์สุจริต คือคุณความดีสูงสุดของชีวิตข้าราชการ เป็นหลักรประจำในซึ่งยึดถือมาช้านาน และได้เผยแพร่กับเพื่อนร่วมงาน ด้วยว่า ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ผู้แสวงหาความจริงและผู้ใช้วิชาชีพ จะต้องไม่เป็นเพียงผู้ที่คอยเรียนรู้อยู่เสมอ และ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น หากยังต้องมี ความชื่อสัตย์สุจริต และต้องแสดงให้ปรากฏออกมาถึง ความชื่อสัตย์สุจริตนั้นอย่างเพียงพอที่จะเรียกร้อง ให้ผู้อื่นมีความชื่อสัตย์สุจริตด้วย”
ปี พ.ศ.2510 ดร.ป๋วยได้ร่วมกับเพื่อนนักธุรกิจ นักการเงิน นักการเมืองและเชื้อพระวงศ์ร่วมก่อตั้ง มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นโครงการ พัฒนาชนบทแห่งแรกขององค์กรพัฒนาเอกชน โดยได้แนวคิดจาก ดร.วาย เยน ที่มีแนวคิดว่า การพัฒนาชนบทและการพัฒนาคุณภาพของคน จะเป็นรากฐานสำคัญ ของการพัฒนาประเทศ โดยการส่งเสริมการพึ่งตนเอง การร่วมมือกันของชาวบ้าน การศึกษา การอนามัย การอาชีพ แนวทางของ มูลนิธิบูรณะชนบทฯ ในการทำงานกับชาวบ้านคือ ” ไปหาชาวบ้าน อยู่กับเขา เรียนรู้จากเขา วางแผนกับเขา ทำงานกับเขา เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ สร้างจากสิ่งที่เขามี สอนโดยชี้ให้เห็น เรียนจากการทำ… ” โครงการของมูลนิธิบูรณะชนบทดำเนินการอยู่ในเขตจังหวัดชัยนาทเป็นหลัก ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากชาวบ้านที่นั้น เคยช่วยชีวิตดร.ป๋วยเมื่อครั้งเป็นเสรีไทย
ปี พ.ศ.2513 อาจารย์ป๋วยได้ลาพักไปสอนที่มหาวิทยาลัยปริ๊นซตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อเรียนรู้เรื่อง มหาวิทยาลัยใหม่ๆ ให้ทันการณ์ โดยรับเงินเดือนจากธนาคารชาติดังเดิม แต่ขอให้มหาวิทยาลัยปริ๊นซตันจ่าย เงินเดือนอันท่านพึงจะได้ให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย นับว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำไร
ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2514 ดร.ป๋วยได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รวมเวลาที่ ดำรงตำแหน่ง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน จึงมารับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์อย่างเต็มตัว เพื่อต้องการทุ่มเทให้ กับการศึกษาอย่างจริงจัง และได้ลาไปสอนพิเศษและ ทำวิจัยอีกครั้ง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอัง
วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 จอมพลถนอม กิติขจรทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจตัวเอง อาจารย์ป๋วยได้ เขียนจดหมายฉบับประวัติศาสตร์จากอังกฤษ โดยใช้ชื่อ นายเข้ม เย็นยิ่ง – ชื่อรหัสสมัยเป็นเสรีไทย จนหมายฉบับนี้ เขียนถึงผู้ใหญ่บ้านชื่อทำนุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม เรียกร้องให้ จอมพลถนอมซึ่งยึดอำนาจ การปกครองคือเสรีภาพ ประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ข้อความในจดหมายตอนหนึ่งว่า “ได้โปรดเร่งรัดให้มีกติกาหมู่บ้านขึ้นเถิด โดยเร็วที่สุด ในกลางปี 2515 นี้ หรืออย่างช้าก็อย่างให้ข้ามปีไป โปรดอำนวยให้ชาวบ้านไทยเจริญมีสิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธรรม สามารถเลือกตั้งสมัชชาขึ้นโดยเร็ว” จดหมายฉบับนี้ สร้างความไม่พอใจให้กับผู้มีอำนาจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์ป๋วยถือว่าเป็นข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่คนแรก ที่กล้าลุกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์เผด็จการทหารอย่างตรงไปตรงมา ทำให้อาจารย์ป๋วยต้องลาออกจากตำแหน่งคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ในระหว่างที่สอนหนังสือที่เคมบริดจ์

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *