การคิดเชิงเปรียบเทียบ (COMPARATIVE THINKING)

การคิดเชิงเปรียบเทียบ (COMPARATIVE THINKING)
หมายถึง : ความสามารถในการพิจารณาเทียบเคียงความเหมือนและ / หรือความแตกต่างระหว่าง สิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งความสามารถ ในการเปรียบเปรยสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ที่พึงประสงค์ ตอบสนองเป้าหมายที่ต้องการ
การเปรียบเทียบ : “ลักษณะเทียบเคียง” การพิจารณาเทียบเคียงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่สององค์ประกอบ ขึ้นไป เพื่อให้เห็นลักษณะที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันของสิ่งเหล่านั้น ทำไมจึงต้องมีการเทียบเคียง
– เมื่อต้องการหาทางเลือกจากตัวเลือกที่มีมากกว่าหนึ่งทางเลือก
– ต้องการเห็นความชัดเจนว่าสิ่งต่างๆ นั้นเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
– ต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเดียวกัน
(พ.อ.สมนึก ขุนทอง, เอกสารบรรยาย นศ.วทบ.ชุดที่ 53 การคิดเชิงเปรียบเทียบ)
หลักการคิดเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ
2. กำหนดเกณฑ์ (criteria) การเปรียบเทียบ
3. แจกแจงรายละเอียดของแต่ละเกณฑ์
4. เปรียบเทียบและตอบวัตถุประสงค์
การคิดเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์กับเหตุการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน
เพื่อให้เราลดความผิดพลาด เช่น สมมุติมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจนอาจไม่สามารถวิเคราะห์ได้
หรือตัดสินใจได้ ก็นำมาเปรียบเทียบมาวิเคราะห์ได้ว่าเหตุการณ์ไหนดีเหตุการณ์ไหนไม่ดี การคิดเปรียบเทียบ
เพื่อแก้ปัญหาเป็นการจุดประกายความคิดและการสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
การคิดเชิงเปรียบเทียบมีประโยชน์มากสำหรับผู้บริหาร 3 ด้านคือ
1. คิดเปรียบเทียบใช้วิเคราะห์
2. คิดเปรียบเทียบใช้อธิบาย
3. คิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหา
(เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, การคิดแบบนักบริหาร)
ตัวอย่าง การคิดเชิงเปรียบเทียบ
“ ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน ” คิดเชิงเปรียบเทียบกับ “ ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร ”
• การเปรียบเทียบตามหัวข้อที่กำหนด เป็นการเปรียบเทียบ:“ลักษณะเปรียบเปรย” …การเปรียบเปรยสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งเฉพาะส่วนที่มีความคล้ายคลึงกันในบางด้าน เพื่อช่วยในการ อธิบาย ให้เกิดภาพในความคิดที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น
• ทำไมจึงต้องมีการอุปมาอุปมัย
– เพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้ง่ายขึ้น
– เพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้รับ
– เพื่อจุดประกายการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
การกำหนดวัตถุประสงค์การคิดเชิงเปรียบเทียบ
“ ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน ” และ “ ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร ”
– เพื่อทำให้เข้าใจตรงกันในมาตรฐานที่แตกต่าง
– เพื่อลดเวลาในการอธิบาย
– เพื่อจูงใจให้เกิดการคล้อยตาม
– เพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
ค่าของคน เป็นมาตรฐานสำคัญของชีวิตมนุษย์เราที่จะถูกกำหนดบนมาตรฐานต่างๆ ตาม สภาวะแวดล้อมของภารกิจ หน้าที่ ที่แต่ละคนมีความรับผิดชอบอยู่ นับมีความสำคัญยิ่งในการเป็น ตัวชี้วัดความมีคุณค่าในทางที่ดีหรือไม่ดี…ของมนุษย์ทุกผู้ทุกคน ซึ่งจำเป็นต้องมี กรรม/กิจกรรม ที่ดีหรือไม่ดี เพื่อเป็นสิ่งเชิดชูหรือตอกย้ำให้ได้มาซึ่งความหมายของ…ค่าของคน… ดังกล่าว
แต่หากในปัจจุบันแค่ ผลของงาน ก็คงไม่สามารถนำมากำหนดความเป็น ค่าของคน ได้อย่างเที่ยงธรรม และถูกต้องในทุกโอกาสได้เสียแล้ว เพราะยังมีวัฒนธรรมพิเศษสอดแทรกเข้ามาในระบบการทำงานของสังคมไทยคือ “ค่าของคน อยู่ที่ คนของใคร”
เมื่อถึงเวลานี้ประกอบกับวัฒนธรรมองค์กรที่บิดเบี้ยว และความเป็นระบบอุปถัมภ์เล่นพรรคเล่นพวกโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ ต่อความมีประสิทธิภาพและความอยู่รอดขององค์กร คำว่า “ค่าของคน”จึงเป็นความเหมือนที่แตกต่าง ทั้งนี้คงต้องแล้วแต่บุญวาสนา ของทุกๆ ท่านด้วยว่า ท่านพบ “เจ้านาย” ประเภทใด

พระพุทธเจ้า
กำหนดเกณฑ์ (criteria) การเปรียบเทียบและแจกแจงรายละเอียด
นิยามศัพท์
1. ค่าของคน
– มีทัศนคติแบบ “ ฉันทำได้ ” (Maintain a “Can do” attitude)
– กล้าเผชิญหน้ากับปัญหา อุปสรรคและการแข่งขัน (Crush the competition)
– อดทน อดกลั้นต่อความยากลำบาก (Hang tough)
– มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ (Be the best in the business)
– ไม่มีข้ออ้าง ข้อแก้ตัว (No excuse)
– ผู้บริหารคือสีสันขององค์กร(The boss is a colorful character)
คนพันธุ์เก่า
– ไม่ตื่นตัว กลัวความเปลี่ยนแปลง
– Say “no” ต่องานที่ยากและแปลกใหม่ ติดกรอบ
– เก่งเฉพาะด้าน
– จารีตประเพณีนิยม
– กลัว ไม่ชอบวิทยาการใหม่ๆ
– บ้างาน
– แข็งกร้าว ก้าวร้าว แต่อ่อนโยนกับเจ้านาย
คนพันธุ์ใหม่
– มีพลวัตสูง ชอบท้าทาย
– เชื่อว่า “ฉันทำได้” “Can do” attitude
– มีความสามารถรอบตัว
– เน้น “สาระ” มากกว่า “พิธีรีตอง“
– เข้าใจและรู้จักใช้เทคโนโลยี
– ชีวิตมีดุลยภาพ
– แข็งแกร่งแต่ไม่แข็งกร้าว
อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
(สมบัติ กุสุมาวลี ,การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่)
2. ผลของงาน
บุคลากรสามารถที่จะปฏิบัติงานได้เป็นผลดีก็ต่อเมื่อ…
– สามารถที่จะทำงานของตนเองได้ดี (มีความรู้ ทักษะและความเข้าใจในงาน)
– มีแรงจูงใจในการทำงาน (มีสิ่งตอบสนองที่เหมาะสม)
– มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกื้อหนุนและมีช่องทางในการแสดงออก (เช่น มีอุปกรณ์สนับสนุน มีสังคม และมีโอกาสเสนอแนะปัญหาและข้อคิดเห็น เป็นต้น)
(สมบัติ กุสุมาวลี ,การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่)
3. คน…ของใคร
คน…ของใคร ในที่นี้ คงหมายถึง ผู้บริหาร
ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี หลักธรรมที่เรียกว่า พรหมวิหาร 4 (Holy Abiding) ได้แก่
1. เมตตา (Living Kindness) แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อ ปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ
2. กรุณา (Compassion) แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมด ทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์
3. มุฑิตา (Sympathetic Joy) แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไม่มีความ อิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา
4. อุเบกขา (Neutrality) แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ ที่มากระทบ และทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
คงไม่ต้องขยายความมากกว่านี้นะครับ เพราะชาวพุทธ หรือไม่ใช่ชาวพุทธ ที่เคยเรียน โรงเรียนในประเทศไทยทุกคนทราบดีอยู่แล้ว แต่ผู้บริหารอย่าหลงไปยึดถือเอา พรมวินาศ 4 เป็นที่ตั้งก็แล้วกัน ซึ่งได้แก่ “ บ้าอำนาจ ฉ้อราษฎร์ บังหลวง หลอกลวงลูกน้อง ยกย่องคนชั่ว ”
ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี ธรรมะที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 (Base of Sympathy) ซึ่งเป็นธรรม อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่น หรือธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคนทั่วไป อันได้แก่
1. ทาน (Giving Offering) คือการให้ เสียสละ แบ่งปันแก่ผู้อื่น
2. ปิยวาจา (Kindly Speech) คือ พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะแก่ บุคคล เวลา สถานที่ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ พูดให้เกิดเกิดพลังใจ
3. อัตถจริยา (Useful Conduct) ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ กำลังทรัพย์ และเวลาที่มี อย่างไม่เป็นที่เดือดร้อนแก่ตน หรือผู้อื่น
4. สมานัตตตา (Even and Equal Treatment) คือวางตนให้เสมอต้น เสมอปลาย วางตน เหมาะสมกับฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุข สม่ำเสมอ คือ เราควรจะเป็นคนที่ “ โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ปวงชน วางตนได้เหมาะ ”
ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี จริยธรรม (Ethics) มีมาตรฐานของการกระทำ และ พฤติกรรมอันเป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นถึงการเป็นผู้ทรงเกียรติ ที่สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรคือ สิ่งที่ถูก หรืออะไร ที่ผิด โดยใช้ดุลยพินิจพิจารณาในเชิงศีลธรรม คือ

ขงเบ้ง
1. มีบุคลิกภาพการเป็นผู้มีจริยาที่ดี ทั้งการแต่งกาย การพูดจา การแสดงออกทั้งทาง กายจริยา (กาย) วจีจริยา (วาจา) และมโนจริยา (ใจ) ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โดยต้องอยู่ในพื้นฐาน ของการให้เกียรติ (Honorific) ผู้อื่นเสมอ
1.1 กายจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานซึ่งต้องใช้กายเป็นสำคัญ โดยต้อง รักษาระเบียบแบบแผน ถือเอาเหตุผลเป็นสำคัญขณะเดียวกันต้องไม่ถ่วงเวลาผู้อื่น ไม่ละเลยงานในหน้าที่ และต้องทำงานให้ลุล่วงทั้ง “ต่อหน้าและลับหลัง”
1.2 วจีจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานด้วยคำพูดเป็นสำคัญ ต้องน่าเชื่อถือได้ ต้องถือหลักว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์”
1.3 มโนจริยา หมายความว่า ตั้งจิตใจมั่นในการปฏิบัติงานทุกอย่าง ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ตน ปักใจลงในการงานนั้นเห็นว่าการงานดีทั้งหลายรู้ได้เมื่อทำเสร็จ มิใช่รู้ได้เมื่อกำลัง ทำ หรือก่อนทำปักใจลงในการทำงานอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติทางใจด้วยดี โดยต้องทำงาน ด้วยใจสัตย์ มีมานะในการทำงานไม่เกียจคร้าน ไม่หวังพึ่งพาผู้อื่น ต้องรู้จักแบ่งเวลาใน
การทำงานและเวลาพักผ่อน โดยสมควร รักษาความเป็นระเบียบแบบแผน รู้รักษาหน้าที่ ที่พึงปฏิบัติ ต้องทำจริง ไม่ดึงดันในสิ่งที่ผิด ต้องคอยหมั่นตรวจสอบการงานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการผิดพลาดอันเป็นการรองรับสถานการณ์ที่ อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา
2. มีความสามารถในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างเป็นกระบวนการ
3. อดทน สุขุม เยือกเย็น รู้จักควบคุมอารมณ์
4. ปฏิบัติต่อผู้อื่น อย่างถูกต้อง และยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
5. ไม่หลงอำนาจ ไม่ระแวงสงสัย หรือแสดงการดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น
6. รู้จักให้อภัย กล้ารับผิด รับชอบ
7. ไม่ปกป้องตนเอง และปกป้องพรรคพวกเพื่อนพ้องในทางที่ผิด
8. รู้จักการระงับโทสะ โมหะ อย่างมีสติ และมีเหตุมีผล
9. คำสั่งต้องชัดเจน บนพื้นฐานความถูกต้องของกฎหมายบ้านเมือง และไม่ขัดต่อวัฒนธรรม
10. มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ประกอบไปด้วยความซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ได้ไม่ทำอะไรที่ส่งผล กระทบ ต่อวิชาชีพ ต้องรักษาความลับ ไม่ทำอะไรที่ขัดหรือเสียต่อผลประโยชน์ขององค์กร (ว่าที่ร.ต.สมชาย พุกผล ,ทำไมต้องเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อ สังคมให้อยู่ในจิตสำนึกของ ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน)

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
เปรียบเทียบและตอบวัตถุประสงค์
ความแตกต่างของ “ค่าของคน”
ประการแรก : ถ้ากล่าวถึงความเป็นไปตามมาตรฐานสากลและการมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์อย่างสูงสุด ขององค์กร คำว่า “ค่าของคน” ต้องมีปัจจัยโดยตรงกับ “ผลของงาน” ที่เขาเหล่านั้นเป็นเจ้าของ แต่ ผลของงาน ยังต้องแยกไปอีกว่าเป็น งานดีหรืองานชั่ว ซึ่งต้องหันกลับไปถามว่า ผู้บริหารหรือ เจ้านายของท่านว่า ต้องการให้ ทำงานดี หรือ ทำงานชั่ว ด้วยเช่นกัน
ประการที่สอง : แต่ถ้ากล่าวถึง “ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร” ท่านก็ไม่ต้องไปคำนึงถึงความ เป็นไปตามมาตรฐานสากลและการมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์อย่างสูงสุดขององค์กร คำนึงอยู่สิ่งเดียวคือให้
ท่านไปยืนอยู่ในใจของผู้บริหารหรือเจ้านายท่านให้ได้ เพื่อให้ท่านเป็น “คนของเขา” แต่ตรงนี้ท่าน
ต้องเลือกผู้บริหารหรือเจ้านายให้ดีด้วยเพราะถ้าผู้บริหารหรือเจ้านายท่านนั้นไม่ยิ่งใหญ่จริง ท่านก็
ไม่มีค่าอะไรหรอกและอีกประการหนึ่งคือต้องทำใจที่ “ค่าของท่าน” อาจจะอยู่แค่ช่วงชีวิตการมี
อำนาจของนายท่านเท่านั้น
ดังนั้น “ค่าของคน” จึงขึ้นอยู่กับเราท่านว่ารักจะเลือกว่าจะเป็นแบบใด
“ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน” ต้องได้มาด้วยความสามารถและอดทน ในการทำสิ่งที่ถูกต้องและ มีมาตรฐานของสังคมหรือองค์กร แต่จะสร้างความภูมิใจในตัวตนอย่างยิ่ง
“ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร” ไม่ต้องใช้ความสามารถและการรอคอย แต่ต้องกล้าในการทำสิ่งที่ ไม่มีมาตรฐานโดยไม่สนใจต่อความถูกต้องและมีมาตรฐานของสังคมหรือองค์กร เมื่อหมดอำนาจวาสนา ก็ไม่เหลือความภูมิใจใดเลยในชีวิต

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *