การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking)

การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบ ต่าง ๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
การคิดเชิงสังเคราะห์
ต้องอาศัยความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและทักษะในการดึงประเด็นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี จำนวนมากและกระจัดกระจายหลากหลาย แต่คัดสรรมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสิ่งที่ต้องการคิด นำมาหลอมรวม ถักทอ ผสมผสาน ให้อยู่ภายใต้โครงร่างเดียวกันเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้
วิธีคิดเชิงสังเคราะห์ คำว่า วิเคราะห์ กับคำ สังเคราะห์ มีความหมายที่แสดงถึง กระบวนการ คนละทางกัน การวิเคราะห์มีความหมายว่า แยกออกพิจารณา โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ส่วนการสังเคราะห์มีความหมายไปทางรวมเข้าด้วยกัน โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น สำหรับขั้นตอนวิธีคิดเชิงสังเคราะห์ จะต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจนว่าเราต้องการที่จะ สรรค์สร้างสิ่งใดขึ้น เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อให้ทำหน้าที่อะไร

สรุปขั้นตอนของการคิดเชิงสังเคราะห์มีดังนี้
1. หาความรู้เกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี หรือแนวทางที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้เป็นหลักในการ สังเคราะห์
2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการสังเคราะห์ให้ถ่องแท้ จนแน่ใจว่าเรารู้จักหรือเข้าใจส่วนประกอบนั้น ๆทุกส่วนเป็นอย่างดีแล้ว
3. ใช้หลักความรู้ในข้อ 2 ให้เหมาะแก่กรณีที่จะสังเคราะห์
4. ทบทวนว่า ผลของการสังเคราะห์สอดคล้องกับความมุ่งหมายหรือไม่เพียงใด

เปรต

ตัวอย่างการคิดเชิงสังเคราะห์
การวาดรูป เป็นความคิดเชิงสังเคราะห์ โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่คือ รูปภาพที่ต้องการสื่อความรู้สึกของผู้เขียนภาพ
ก่อนการวาดรูปที่เป็นความคิดเชิงสังเคราะห์ เราต้องหาความรู้เกี่ยวกับหลักการทฤษฎี หรือ แนวทางที่เหมาะสม ของการประสมประสานข้อมูลเชิงเส้นประเภทต่างๆทั้งต้องมีความหนา บางของ ข้อมูลเชิงเส้นแตกต่างกันไปและยังรวมไปถึงการให้สีประกอบเข้าไปเพื่อสื่ออารมณ์และความรู้สึก ตลอดจน ผู้เขียนภาพต้องมีจินตนาการและจิตวิญาณแห่งความเป็นศิลปินประกอบเข้าไปในระหว่างการเขียน ภาพนั้นๆด้วย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวจะต้องถูกนำมาใช้เป็นหลักในการสังเคราะห์เพื่อให้ได้เป้าหมายคือ หลอมรวม ผสมผสาน ให้อยู่ภายใต้โครงร่างเดียวกันของรูปภาพที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ ที่ผู้เขียนภาพต้องการ

ภาพของมหาวินารเทพ Zeus สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าแห่งที่ 4

ภาพของสวนลอยบาบิโลนที่สาบสูญไปแล้ว เป็นภาพที่วาดจากจินตนาการ
และจากบันทึกต่างๆ ที่เคยระบุถึงสวนลอยแห่งนี้ไว้

บทสรุป การคิดเชิงเปรียบเทียบกับการคิดเชิงสังเคราะห์ในแง่มุมการคิด เรื่อง ค่าของคน

“ค่าของคน” ในความคิดเชิงเปรียบเทียบ ผมได้กล่าวให้เห็นในมุมมองของ
“อยู่ที่ผลของงาน” และ “อยู่ที่คนของใคร”
เพื่อกรุณาพิจารณาไปแล้วในบทความต้นเรื่อง
แต่โดยสรุปก็คือ
– เพื่อต้องการหาทางเลือกจากตัวเลือกที่มีมากกว่าหนึ่งทางเลือกเพื่อให้ได้ค่าสรุปของคำว่า “ค่าของคน”
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อองค์กรโดยตรง
– ต้องการเห็นความชัดเจนว่าสิ่งต่างๆนั้นเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
ในที่นี้ความเหมือนคือนิยามคำว่า “ค่าของคน” แต่บนความเหมือนยังมีความแตกต่างของการได้มาซึ่ง “ค่าของคน”
ดังกล่าวที่มีทางเลือกได้ถึง 2 ประเด็นคือ “อยู่ที่ผลของงาน” หรือ “อยู่ที่คนของใคร”
– ต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเดียวกันตรงนี้เองเราถึงจะรู้ว่าเราควรมีสำนึกในการสร้าง “ค่าของคน”
“ค่าของตน” ได้อย่างไรใน
ครานี้ผมจะมาพูดถึง “ค่าของคน” ในความคิดเชิงสังเคราะห์ แต่ต้องมีตัวแปรที่จะมา เป็นตัวแปรที่สำคัญของเรื่อง “ค่าของคน” คือผู้บริหารหรือเจ้านายของท่านเข้าไปด้วย
“วิธีคิดเชิงสังเคราะห์คำว่าวิเคราะห์ กับคำสังเคราะห์มีความหมายที่แสดงถึงกระบวนการคนละทางกัน การวิเคราะห์มีความหมายว่าแยกออกพิจารณาโดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจส่วนการสังเคราะห์ มีความหมายไปทางรวมเข้าด้วยกันโดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นสำหรับขั้นตอนวิธีคิดเชิงสังเคราะห์ จะต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจน ว่าเราต้องการที่จะสรรค์สร้างสิ่งใดขึ้นเพื่อประโยชน์อะไรหรือเพื่อให้ทำหน้าที่อะไร”
การสังเคราะห์มีความหมายไปทางรวมเข้าด้วยกัน : ในกรณีนี้ผมต้องการชี้ให้เห็นถึงแนวคิด การสังเคราะห์พฤติกรรมของ “ค่าของคน” หลายๆ คน หลายๆ ประเภท หลายๆ นิสัย และ ฯลฯ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร
จุดหมายปลายทางอยู่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น : จากการนำความสามารถในการดึงองค์ประกอบ ต่าง ๆ ของ “ค่าของคน” หลายๆ คน นำมาผสมผสานเข้าด้วยกันโดยมีกรอบขององค์กรและการมี นโยบาย คำสั่งที่แน่ชัดเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้บริหารต้องการก็คือความมีประสิทธิภาพสูงสุด ขององค์กรบนการเลือกใช้พฤติกรรมของคนที่เป็นลูกน้อง
มนุษย์มีอิสระทางความคิด แต่บนความเป็นอิสระนั้นต้องมี ความคิดที่ คิดสร้างสรรค์และคิด ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากกว่าส่วนตน ที่สำคัญสุดคือ ต้องคิดอย่างมีคุณธรรมและคิดด้วย ใจเมตตา แต่นับเป็นเรื่องยากยิ่งที่มนุษย์ทุกคนจะบังคับจิตใจและความคิดของตนได้ในทุกครา ดังคำที่กล่าว ในสังคมไทยเสมอ คือ คิดได้แต่ทำไม่ได้ หรือ หลายครั้งที่ความคิดสำคัญๆกว่าจะถูกนำมาใช้คนคิด ก็ตายจากโลกนี้ไปเสียแล้ว คนเราอายุไม่ยืนยาว เมื่อคิดจะทำสิ่งใดควรคิดดีและต้องลงมือทำในทันทีด้วย…

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *